บำรุงราษฎร์ รุกสร้างความแตกต่างด้านนวัตกรรม ชู Medical technology ปฏิวัติการดูแลสุขภาพรูปแบบใหม่สู่โลกอนาคต ตั้งเป้าผู้นำด้านบริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลก ในอีก 3 ปีข้างหน้า
ปฏิเสธไม่ได้ว่า การบริหารองค์กรขนาดใหญ่ในทุกวันนี้มีความท้าทายอย่างมาก ไม่ว่าจะด้วยกระแส Digital Transformation หรือ Technology Disruption ที่เข้ามามีอิทธิพลในอุตสาหกรรมต่าง ๆ รวมถึงอุตสาหกรรมการดูแลสุขภาพ หรือ Healthcare Industry อย่างรวดเร็ว ปัจจุบันวงการแพทย์ได้มีการปรับประยุกต์ใช้และนำ Intelligent Healthcare หรือการดูแลสุขภาพด้วยการใช้เทคโนโลยีอัจฉริยะ รวมไปถึงการนำ Internet of Things เข้ามาใช้งานในทางการแพทย์ ซึ่งนับเป็นกุญแจสำคัญที่ท้าทายในการเพิ่มขีดความสามารถในการดูแลสุขภาพให้เกิดประสิทธิภาพมากขึ้น
ไม่เพียงแต่นวัตกรรม แต่ก็ยังมีปัจจัยสำคัญอีกมากมาย ที่วงการแพทย์โดยเฉพาะสถานพยาบาลต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ อยู่ตลอดเวลา เพื่อปรับเปลี่ยนสู่ Smart Hospital และตอบรับยุค Healthcare 4.0 รวมถึงต้องเข้าใจเทรนด์อนาคตของวงการธุรกิจโรงพยาบาลทั้งในระดับประเทศและระดับโลก
ภญ. อาทิรัตน์ จารุกิจพิพัฒน์ ผู้อำนวยการด้านบริหาร โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ เปิดเผยถึงวิสัยทัศน์และเป้าหมายในปี 2565 หรือในอีก 3 ปีข้างหน้าว่า บำรุงราษฎร์ต้องการขับเคลื่อนองค์กรให้ก้าวสู่โรงพยาบาลด้านการให้บริบาลสุขภาพแบบองค์รวมระดับโลก (World-class Holistic Healthcare) อย่างต่อเนื่อง และมีความเป็นเลิศทางการรักษาขั้นตติยภูมิที่สร้างความแตกต่างด้วยนวัตกรรม ซึ่งมีอยู่หลายองค์ประกอบที่ผู้นำองค์กรจะต้องกล้าคิด กล้าริเริ่ม กล้าทดลองเพื่อจะเรียนรู้ และตัดสินใจลงมือทำสิ่งใหม่ ๆ ในอุตสาหกรรม Healthcare ซึ่งมีความท้าทายอย่างมาก และในฐานะโรงพยาบาลชั้นนำเราจะต้องก้าวให้เร็วกว่าปกติ เปิดรับสิ่งใหม่ ๆ อย่างรวดเร็ว โดยที่ผ่านมาบำรุงราษฎร์ได้ปรับโครงสร้างพื้นฐานและพัฒนาระบบซอฟต์แวร์ไอทีต่าง ๆ เพื่อให้สามารถรองรับเทคโนโลยีใหม่ ๆ ได้ในอนาคต ซึ่งบุคลากรล้วนจะต้องเรียนรู้สิ่งใหม่ ๆ อยู่ตลอดเวลาเพื่อก้าวสู่โลกแห่งอนาคต สิ่งสำคัญและท้าทายที่สุดคือ ‘การบริหารคน’ วัฒนธรรมองค์กรจะช่วยหล่อหลอมให้พวกเขาสร้างทัศนคติเชิงบวก พร้อมเปิดใจรับที่จะเรียนรู้และปรับตัวเองให้สอดคล้องกับทิศทางขององค์กร ดึงศักยภาพตัวเองออกมาใช้อย่างเต็มที่ รวมถึงต้องทำงานอย่างมีความสุขในช่วงเปลี่ยนถ่ายสู่ยุคดิจิทัลได้อย่างไร้รอยต่อเพื่อก้าวเดินสู่จุดหมายไปพร้อม ๆ กับองค์กร
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี โรงพยาบาลได้มุ่งมั่นเพื่อยกระดับการบริบาลทางการแพทย์ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น โดยคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient Centric) รวมถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) เป็นสำคัญ ด้วยวัฒนธรรมองค์กร และ DNA ของแพทย์ บุคลากร รวมถึงทุกสหสาขาวิชาชีพต่างก็รู้และเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ เอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วยมาโดยตลอด ซึ่งประสบการณ์ที่ดีของผู้ป่วย (Patient Experience) นับเป็นอีกกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน”
สำหรับปี 2562 นี้ บำรุงราษฎร์ได้กำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นเรื่อง Excellence Management ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ประกอบด้วย
1. Clinical Excellence: ความชำนาญการและประสบการณ์ของแพทย์ถือเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ Excellence Center ต่าง ๆ โดยเฉพาะสหสาขาวิชาชีพในการรักษาขั้นตติยภูมิ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของการบริบาล เพื่อให้สามารถดูแลรักษาโรคเฉพาะทางได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความชำนาญการขั้นสูง พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถให้บริการแก่ผู้ป่วยและผู้ใช้บริการได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้การยกระดับสู่ Excellence Center ต่างๆ ของโรงพยาบาลฯ ในปัจจุบัน อาทิ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Unit), ศูนย์หัวใจ (Cardiology Center), ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน (Horizon Cancer Treatment Center), ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ (Digestive Diseases GI Center), ศูนย์โรคระบบประสาท (Neurology Center), ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery Center), ศูนย์จักษุ (Eye Center) เป็นต้น
2. Operational & People Excellence: มุ่งเน้นการดูแลบุคลากร มีเป้าหมายใน 3 ด้าน คือ ให้พนักงานมีความสุข มีอนาคต และเก่งขึ้น โดยจะตั้งคำถาม 3 ข้อ ได้แก่ 1) ทำอย่างไรให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข สร้าง ‘happy workplace’ รวมถึงสวัสดิการที่เหมาะสมและกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของพนักงาน 2) ทำอย่างไรให้พนักงานทำงานและมีอนาคตการทำงานที่ดี โดยสร้าง Fast track ให้กับกลุ่ม talent และมี Career Clinic เพื่อให้พนักงานได้ปรึกษาเพื่อกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของตัวพนักงานเองได้ 3) ทำอย่างไรให้พนักงานเก่งขึ้น โดยจัดตั้งฝ่าย Bumrungrad Academy มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์แต่ละสาขาวิชาชีพ เช่น มีการอบรมด้าน Soft Skill ในการบริหาร, มีแผนกด้าน Career Path Development ที่ชัดเจน รวมถึงมีโครงการสำหรับส่งเสริมให้พนักงานขึ้นสู่ระดับบริหารจากภายใน เป็นต้น โดยมีการใช้รูปแบบและสื่อที่หลากหลาย ทั้งแบบฝึกอบรม สัมมนา, การเรียนรู้แบบ Simulation-based learning, มีแอปพลิเคชั่นสำหรับการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
3. Service Excellence: โรงพยาบาลฯ ยึดหลักการดูแลเอาใจใส่แบบวิถีแห่งบำรุงราษฎร์ รวมถึง มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาการเข้าถึงของผู้มาใช้บริการให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น Bumrungrad Anywhere ซึ่งเป็นการให้บริการในรูปแบบโทรเวชกรรม หรือเทเลเมดิซีน โดยผู้รับบริการสามารถปรึกษาแพทย์ส่วนตัวได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต แบบเรียลไทม์ โดยแพทย์สามารถวินิจฉัยอาการเบื้องต้น รวมทั้งแนะนำแนวทางการรักษา และข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ การเปิดคลินิกพิเศษสำหรับผู้ป่วยนอก หรือ OPD Instant Clinic เพื่อการเข้าถึงบริการที่รวดเร็วขึ้น โดยใช้เวลาตั้งแต่ลงทะเบียน พบแพทย์ จ่ายเงิน และรับยา ภายในเวลา 1 ชม. ซึ่งคลินิกพิเศษนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเล็กน้อย ไม่รุนแรง ผู้ป่วยที่ต้องการรับวัคซีน หรือรับยาประจำเพิ่ม เป็นต้น
ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย อีกทั้งบำรุงราษฎร์ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาใน 3 ส่วนหลักด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย บุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทาง การทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ และเทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ
ในด้านของนวัตกรรมทางการแพทย์ ดร. ธีรเดช เวียงธีรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า “ในช่วง 3 - 5 ปีที่ผ่านมา บำรุงราษฎร์ได้มีการศึกษาวิจัยและนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Technology) มาปรับใช้ในองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลได้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับประยุกต์ใช้หลายส่วนด้วยกัน ทั้งในเรื่องการนำระบบซอฟต์แวร์ Hospital Information System (HIS) เข้ามาปรับใช้ในโรงพยาบาลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลมีความแม่นยำและถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย และสามารถเรียกใช้งานแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ ยังมีการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาใช้ทางการแพทย์ในหลากหลายรูปแบบ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม อาทิ AI/Big Data, Genomics, Robotics, Scientific Wellness และ Telemedicine เป็นต้น”
ดร. ธีรเดช อธิบายเพิ่มเติมว่า การจัดเก็บข้อมูลในเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม Healthcare มีความซับซ้อนและค่อนข้างละเอียดอ่อน ทั้งในแง่ของพรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของสถานพยาบาล ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข และสิทธิผู้ป่วย ฯลฯ โดยข้อมูล Big Data จะนำไปสู่การพัฒนาการรักษาที่แม่นยำและจำเพาะทางการแพทย์ (Precision Medicine) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่ต้องอาศัยการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะ ต้องอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรมหรือข้อมูลในระดับโมเลกุลมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย การเลือกรูปแบบการรักษา การเลือกใช้ยา การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนในด้านของข้อมูลภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging) เช่น ผลจากเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan), เอ็กซเรย์ (X-ray), อัลตราซาวด์ (Ultrasound), เครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือผลการรักษาโรคโดยใช้ภาพวินิจฉัย บำรุงราษฎร์ได้ใช้ระบบ AI ซึ่งได้ผ่านการฝึกฝน (training) โดยการอ่านและวิเคราะห์จากตัวอย่างหลายล้านภาพ เพื่อมาช่วยรังสีแพทย์ (Radiologist) ทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำจำเพาะและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
สำหรับในส่วนของข้อมูล DNA และ Genomics (จีโนมิกส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาขาพันธุศาสตร์ ที่ศึกษาค้นคว้าหากลุ่มยีน หรือพันธุกรรมของเซลล์สิ่งมีชีวิต เพื่อหารูปแบบการจัดกลุ่มของดีเอ็นเอ การทำงานของยีน และความสัมพันธ์ระหว่างยีน) โรงพยาบาลได้ลงทุนในระบบการจัดการบริหารข้อมูล Big Data นี้เรียกว่า Bio Computing Platforms (BCP) ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูล DNA ของผู้ป่วยกับข้อมูลในแพลตฟอร์มโรงพยาบาลดิจิทัลครบวงจร (Electronic Medical Record - EMR) ได้ง่ายและรวดเร็ว โดยในปัจจุบัน บำรุงราษฎร์กำลังศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ 'ยีนและยา' เพื่อมุ่งสู่การดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล (personalized medicine) ผ่านการตรวจหาความผิดปกติในหน่วยพันธุกรรม ร่วมกับการเก็บข้อมูลการใช้ชีวิตประจำวันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เช่น เรื่องอาหาร อากาศ การพักผ่อน เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการเกิดโรค เพื่อวางแผนการให้ยาได้อย่างเหมาะกับผู้ป่วยเฉพาะรายบุคคล ซึ่งเป็นเทรนด์การรักษาโรคในอนาคต
นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์ยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ๆ ในประเทศไทยที่ได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดระบบดาวินซีเข้ามาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยหลายระบบอวัยวะ อาทิ โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, โรคระบบตับ น้ำดี ตับอ่อน เช่น มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี, โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งไต, โรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกหรือมะเร็งมดลูก เนื้องอกรังไข่ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน, โรคทางระบบหายใจและทรวงอก เช่น มะเร็งปอด มะเร็งผนังทรวงอก รวมถึงการผ่าตัดทั่วไป เช่น การผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน การผ่าตัดไส้เลื่อน ม้าม เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต เป็นต้น ซึ่งมักจะร่วมใช้ในกระบวนการผ่าตัดที่มีความสลับซับซ้อนหรืออยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยากทำได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด รวมถึงได้นำหุ่นยนต์ช่วยในการจัดยาสำหรับผู้ป่วยที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาล ครอบคลุมตั้งแต่การจ่ายยา การจัดเก็บยา การบรรจุหีบห่อเพื่อใช้ในการบริหารจัดการยาให้กับผู้ป่วย ด้วยเทคโนโลยี Swisslog Pharmacy Robot อีกด้วย
หรือแม้แต่การนำแพลตฟอร์มการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยในรูปแบบ Telemedicine & Teleconsultation ภายใต้ชื่อ AnyWhere Application เป็นเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลที่ร่วมกับ iDoctor ได้เข้ามาช่วยให้คำปรึกษาผู้ป่วย และลดข้อจำกัดเรื่องการเดินทางและช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศ (Referral Office) ที่มีอยู่ 40 แห่งทั่วโลกได้ และ Remote Interpreter เป็นระบบที่เข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่ล่ามในการแปลภาษาให้กับผู้ป่วยผ่านอุปกรณ์การสื่อสารโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปอยู่กับแพทย์หรือผู้ป่วย
ดร. ธีรเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า “การที่ได้นำนวัตกรรมมาปรับใช้ในองค์กรและในวันนี้ถือว่าเกิดประสิทธิผลต่อการรักษาผู้ป่วยอย่างมาก ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ 'ไอบีเอ็มวัตสัน' ที่ช่วยในการประมวลผลเพื่อให้แพทย์ตัดสินใจวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง (IBM Watson for Oncology) โดยบำรุงราษฎร์ได้พัฒนาความก้าวหน้าของศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะบุคคล (Precision Medicine) ช่วยทำให้แพทย์สามารถตัดสินใจกำหนดแผนและวิธีการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยในปัจจุบันสามารถรักษาครอบคลุมมะเร็งได้ถึง 13 ชนิด และอีกเทคโนโลยีคือ ซีบรา เอไอ (Zebra AI) เป็น AI ที่ใช้ร่วมกับ CT Scan เพิ่มความแม่นยำในการอ่านข้อมูลทางด้านรังสีรักษา และสามารถตรวจได้ถึง 4 โรคได้ในครั้งเดียวกัน ประกอบด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เลือดออกในสมอง ไขมันพอกตับ และภาวะกระดูกแตก ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก”
ทิศทางในอนาคตของ Healthcare Industry ย่อมมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่สถานพยาบาลด้วยกันเอง แต่จะมีสตาร์ทอัพรายใหม่ ๆ ที่พร้อมจะเข้ามาคิดค้นพัฒนาแพลตฟอร์มด้านสุขภาพใหม่ ๆ เช่น การสร้างแอพตรวจโรคเบาหวาน แอพตรวจโรคมะเร็ง แอพหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือแอพผู้ช่วยเสมือนพยาบาล เป็นต้น โดยอาจเชื่อมโยงข้อมูล Big Data และนำ AI มาทำนายโรคที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราในอนาคต โดยดูจากหลายปัจจัย อาทิ ความสัมพันธ์ของยีน ค่าความเสี่ยงต่าง ๆ จากพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ มาวิเคราะห์ร่วมกันจากหลายตัวแปร ซึ่งต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพจะเน้นการดูแลเชิงป้องกัน (Prevention) ไม่ให้เกิดโรคมากยิ่งขึ้น โดยมีการนำ AI มาใช้วิเคราะห์ผลร่วมกับแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงรหัสพันธุกรรมของผู้ป่วยแต่ละราย (DNA Wellness) และนำไปสู่การตรวจรักษาโรคได้อย่างแม่นยำและจำเพาะต่อตัวบุคคล (Precision and Personalization) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีและเหมาะสมที่สุดแก่ตัวผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา ไม่อาจบรรลุเป้าหมายทั้งหมดขององค์กรได้ บำรุงราษฎร์ตระหนักดีว่าการสื่อสารรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษา การมีปฏิสัมพันธ์ การให้กำลังใจผู้ป่วยและการบริบาลอย่างเอื้ออาทร ยังคงเป็นบทบาทสำคัญของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรของโรงพยาบาลฯ ทุกคน ในการสร้างประสบการณ์เชิงบวกให้แก่ผู้ป่วยและผู้มาเยือนที่บำรุงราษฎร์ เพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
ตลอดระยะเวลากว่า 40 ปี โรงพยาบาลได้มุ่งมั่นเพื่อยกระดับการบริบาลทางการแพทย์ให้มีคุณภาพที่สูงขึ้น โดยคำนึงถึงผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง (Patient Centric) รวมถึงความปลอดภัยของผู้ป่วย (Patient Safety) เป็นสำคัญ ด้วยวัฒนธรรมองค์กร และ DNA ของแพทย์ บุคลากร รวมถึงทุกสหสาขาวิชาชีพต่างก็รู้และเข้าใจถึงบทบาทหน้าที่ เอาใจใส่ผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด เพื่อส่งมอบประสบการณ์ที่ดีให้กับผู้ป่วยมาโดยตลอด ซึ่งประสบการณ์ที่ดีของผู้ป่วย (Patient Experience) นับเป็นอีกกุญแจสำคัญที่จะช่วยให้องค์กรเติบโตอย่างยั่งยืน”
สำหรับปี 2562 นี้ บำรุงราษฎร์ได้กำหนดทิศทางการดำเนินธุรกิจ โดยมุ่งเน้นเรื่อง Excellence Management ซึ่งมี 3 องค์ประกอบหลัก ๆ ประกอบด้วย
1. Clinical Excellence: ความชำนาญการและประสบการณ์ของแพทย์ถือเป็นหัวใจสำคัญ รวมถึงการพัฒนาศูนย์ความเป็นเลิศทางการแพทย์ Excellence Center ต่าง ๆ โดยเฉพาะสหสาขาวิชาชีพในการรักษาขั้นตติยภูมิ ซึ่งเป็นขั้นสูงสุดของการบริบาล เพื่อให้สามารถดูแลรักษาโรคเฉพาะทางได้อย่างครอบคลุมทุกมิติ ตั้งแต่การป้องกัน การวินิจฉัยในระยะเริ่มต้น การรักษา ตลอดจนถึงการฟื้นฟูสมรรถภาพโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มีประสบการณ์และความชำนาญการขั้นสูง พร้อมด้วยเครื่องมือและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัย สามารถให้บริการแก่ผู้ป่วยและผู้ใช้บริการได้อย่างครอบคลุม ทั้งนี้การยกระดับสู่ Excellence Center ต่างๆ ของโรงพยาบาลฯ ในปัจจุบัน อาทิ แผนกผู้ป่วยวิกฤต (Intensive Care Unit), ศูนย์หัวใจ (Cardiology Center), ศูนย์มะเร็งฮอไรซัน (Horizon Cancer Treatment Center), ศูนย์ทางเดินอาหาร-ตับ (Digestive Diseases GI Center), ศูนย์โรคระบบประสาท (Neurology Center), ศูนย์หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด (Robotic Surgery Center), ศูนย์จักษุ (Eye Center) เป็นต้น
2. Operational & People Excellence: มุ่งเน้นการดูแลบุคลากร มีเป้าหมายใน 3 ด้าน คือ ให้พนักงานมีความสุข มีอนาคต และเก่งขึ้น โดยจะตั้งคำถาม 3 ข้อ ได้แก่ 1) ทำอย่างไรให้พนักงานทำงานอย่างมีความสุข สร้าง ‘happy workplace’ รวมถึงสวัสดิการที่เหมาะสมและกิจกรรมที่ตรงกับความต้องการของพนักงาน 2) ทำอย่างไรให้พนักงานทำงานและมีอนาคตการทำงานที่ดี โดยสร้าง Fast track ให้กับกลุ่ม talent และมี Career Clinic เพื่อให้พนักงานได้ปรึกษาเพื่อกำหนดเส้นทางความก้าวหน้าและแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของตัวพนักงานเองได้ 3) ทำอย่างไรให้พนักงานเก่งขึ้น โดยจัดตั้งฝ่าย Bumrungrad Academy มีหน้าที่ในการออกแบบและพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ตอบโจทย์แต่ละสาขาวิชาชีพ เช่น มีการอบรมด้าน Soft Skill ในการบริหาร, มีแผนกด้าน Career Path Development ที่ชัดเจน รวมถึงมีโครงการสำหรับส่งเสริมให้พนักงานขึ้นสู่ระดับบริหารจากภายใน เป็นต้น โดยมีการใช้รูปแบบและสื่อที่หลากหลาย ทั้งแบบฝึกอบรม สัมมนา, การเรียนรู้แบบ Simulation-based learning, มีแอปพลิเคชั่นสำหรับการเรียนรู้ได้ทุกที่ทุกเวลา
3. Service Excellence: โรงพยาบาลฯ ยึดหลักการดูแลเอาใจใส่แบบวิถีแห่งบำรุงราษฎร์ รวมถึง มีการพัฒนาการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เช่น การนำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อพัฒนาการเข้าถึงของผู้มาใช้บริการให้สะดวกรวดเร็วยิ่งขึ้น เช่น Bumrungrad Anywhere ซึ่งเป็นการให้บริการในรูปแบบโทรเวชกรรม หรือเทเลเมดิซีน โดยผู้รับบริการสามารถปรึกษาแพทย์ส่วนตัวได้ง่าย ๆ ผ่านสมาร์ทโฟน หรือแท็บเล็ต แบบเรียลไทม์ โดยแพทย์สามารถวินิจฉัยอาการเบื้องต้น รวมทั้งแนะนำแนวทางการรักษา และข้อมูลสุขภาพต่าง ๆ การเปิดคลินิกพิเศษสำหรับผู้ป่วยนอก หรือ OPD Instant Clinic เพื่อการเข้าถึงบริการที่รวดเร็วขึ้น โดยใช้เวลาตั้งแต่ลงทะเบียน พบแพทย์ จ่ายเงิน และรับยา ภายในเวลา 1 ชม. ซึ่งคลินิกพิเศษนี้ เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการป่วยเล็กน้อย ไม่รุนแรง ผู้ป่วยที่ต้องการรับวัคซีน หรือรับยาประจำเพิ่ม เป็นต้น
ซึ่งทั้ง 3 องค์ประกอบข้างต้นล้วนเป็นปัจจัยแห่งความสำเร็จที่ทำให้องค์กรขับเคลื่อนไปสู่เป้าหมาย อีกทั้งบำรุงราษฎร์ไม่เคยหยุดที่จะพัฒนาใน 3 ส่วนหลักด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย บุคลากรที่มีความชำนาญเฉพาะทาง การทำงานร่วมกันแบบสหสาขาวิชาชีพ และเทคโนโลยีนวัตกรรมต่าง ๆ
ในด้านของนวัตกรรมทางการแพทย์ ดร. ธีรเดช เวียงธีรวัฒน์ ผู้อำนวยการฝ่ายวิจัยและพัฒนา โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ กล่าวว่า “ในช่วง 3 - 5 ปีที่ผ่านมา บำรุงราษฎร์ได้มีการศึกษาวิจัยและนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูง (Advanced Medical Technology) มาปรับใช้ในองค์กรเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพเพื่อประโยชน์ต่อผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง โดยโรงพยาบาลได้นำเทคโนโลยีเข้ามาปรับประยุกต์ใช้หลายส่วนด้วยกัน ทั้งในเรื่องการนำระบบซอฟต์แวร์ Hospital Information System (HIS) เข้ามาปรับใช้ในโรงพยาบาลเพื่อการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ การบริหารจัดการมีประสิทธิภาพมากขึ้น ข้อมูลมีความแม่นยำและถูกจัดเก็บอย่างปลอดภัย และสามารถเรียกใช้งานแบบเรียลไทม์ นอกจากนี้ ยังมีการนำนวัตกรรมต่างๆ เข้ามาใช้ทางการแพทย์ในหลากหลายรูปแบบ แบ่งเป็น 5 กลุ่ม อาทิ AI/Big Data, Genomics, Robotics, Scientific Wellness และ Telemedicine เป็นต้น”
ดร. ธีรเดช อธิบายเพิ่มเติมว่า การจัดเก็บข้อมูลในเชิงการแพทย์ โดยเฉพาะการบริหารจัดการข้อมูลขนาดใหญ่ (Big Data) โดยเฉพาะในอุตสาหกรรม Healthcare มีความซับซ้อนและค่อนข้างละเอียดอ่อน ทั้งในแง่ของพรบ. และกฎหมายที่เกี่ยวข้องของสถานพยาบาล ระเบียบกระทรวงสาธารณสุข และสิทธิผู้ป่วย ฯลฯ โดยข้อมูล Big Data จะนำไปสู่การพัฒนาการรักษาที่แม่นยำและจำเพาะทางการแพทย์ (Precision Medicine) ซึ่งมีความสำคัญอย่างมาก ตัวอย่างเช่น โรคมะเร็ง ซึ่งเป็นโรคที่ต้องอาศัยการรักษาแบบแม่นยำและจำเพาะ ต้องอาศัยข้อมูลทางพันธุกรรมหรือข้อมูลในระดับโมเลกุลมาใช้ในการตรวจวินิจฉัย การเลือกรูปแบบการรักษา การเลือกใช้ยา การป้องกันโรค และการสร้างเสริมสุขภาพ ส่วนในด้านของข้อมูลภาพทางการแพทย์ (Medical Imaging) เช่น ผลจากเอ็กซเรย์คอมพิวเตอร์ (CT Scan), เอ็กซเรย์ (X-ray), อัลตราซาวด์ (Ultrasound), เครื่องสร้างภาพด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) หรือผลการรักษาโรคโดยใช้ภาพวินิจฉัย บำรุงราษฎร์ได้ใช้ระบบ AI ซึ่งได้ผ่านการฝึกฝน (training) โดยการอ่านและวิเคราะห์จากตัวอย่างหลายล้านภาพ เพื่อมาช่วยรังสีแพทย์ (Radiologist) ทำให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำจำเพาะและรวดเร็วมากยิ่งขึ้น
สำหรับในส่วนของข้อมูล DNA และ Genomics (จีโนมิกส์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาขาพันธุศาสตร์ ที่ศึกษาค้นคว้าหากลุ่มยีน หรือพันธุกรรมของเซลล์สิ่งมีชีวิต เพื่อหารูปแบบการจัดกลุ่มของดีเอ็นเอ การทำงานของยีน และความสัมพันธ์ระหว่างยีน) โรงพยาบาลได้ลงทุนในระบบการจัดการบริหารข้อมูล Big Data นี้เรียกว่า Bio Computing Platforms (BCP) ทำให้สามารถเชื่อมโยงข้อมูล DNA ของผู้ป่วยกับข้อมูลในแพลตฟอร์มโรงพยาบาลดิจิทัลครบวงจร (Electronic Medical Record - EMR) ได้ง่ายและรวดเร็ว โดยในปัจจุบัน บำรุงราษฎร์กำลังศึกษาถึงความสัมพันธ์ของ 'ยีนและยา' เพื่อมุ่งสู่การดูแลสุขภาพแบบเฉพาะบุคคล (personalized medicine) ผ่านการตรวจหาความผิดปกติในหน่วยพันธุกรรม ร่วมกับการเก็บข้อมูลการใช้ชีวิตประจำวันในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันของแต่ละบุคคล เช่น เรื่องอาหาร อากาศ การพักผ่อน เพื่อนำข้อมูลทั้งหมดมาประมวลผลวิเคราะห์หาความเสี่ยงในการเกิดโรค เพื่อวางแผนการให้ยาได้อย่างเหมาะกับผู้ป่วยเฉพาะรายบุคคล ซึ่งเป็นเทรนด์การรักษาโรคในอนาคต
นอกจากนี้ บำรุงราษฎร์ยังเป็นโรงพยาบาลแห่งแรก ๆ ในประเทศไทยที่ได้นำเทคโนโลยีหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดระบบดาวินซีเข้ามาช่วยศัลยแพทย์ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยหลายระบบอวัยวะ อาทิ โรคระบบทางเดินอาหาร เช่น มะเร็งหลอดอาหาร มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนัก, โรคระบบตับ น้ำดี ตับอ่อน เช่น มะเร็งตับ มะเร็งตับอ่อน มะเร็งถุงน้ำดี นิ่วในถุงน้ำดี, โรคระบบทางเดินปัสสาวะ ได้แก่ มะเร็งต่อมลูกหมาก มะเร็งกระเพาะปัสสาวะ มะเร็งไต, โรคทางนรีเวช เช่น เนื้องอกหรือมะเร็งมดลูก เนื้องอกรังไข่ ภาวะอุ้งเชิงกรานหย่อน, โรคทางระบบหายใจและทรวงอก เช่น มะเร็งปอด มะเร็งผนังทรวงอก รวมถึงการผ่าตัดทั่วไป เช่น การผ่าตัดกระเพาะรักษาโรคอ้วน การผ่าตัดไส้เลื่อน ม้าม เนื้องอกที่ต่อมหมวกไต เป็นต้น ซึ่งมักจะร่วมใช้ในกระบวนการผ่าตัดที่มีความสลับซับซ้อนหรืออยู่ในตำแหน่งที่เข้าถึงยากทำได้อย่างแม่นยำ ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพมากขึ้น แผลผ่าตัดมีขนาดเล็ก เสียเลือดน้อย ฟื้นตัวได้เร็ว และช่วยลดภาวะแทรกซ้อนภายหลังการผ่าตัด รวมถึงได้นำหุ่นยนต์ช่วยในการจัดยาสำหรับผู้ป่วยที่นอนพักรักษาในโรงพยาบาล ครอบคลุมตั้งแต่การจ่ายยา การจัดเก็บยา การบรรจุหีบห่อเพื่อใช้ในการบริหารจัดการยาให้กับผู้ป่วย ด้วยเทคโนโลยี Swisslog Pharmacy Robot อีกด้วย
หรือแม้แต่การนำแพลตฟอร์มการสื่อสารระหว่างแพทย์กับผู้ป่วยในรูปแบบ Telemedicine & Teleconsultation ภายใต้ชื่อ AnyWhere Application เป็นเทคโนโลยีการแพทย์ทางไกลที่ร่วมกับ iDoctor ได้เข้ามาช่วยให้คำปรึกษาผู้ป่วย และลดข้อจำกัดเรื่องการเดินทางและช่วยอำนวยความสะดวกสำหรับผู้ป่วยที่อยู่ในพื้นที่ห่างไกล ซึ่งสามารถเชื่อมต่อสำนักงานตัวแทนในต่างประเทศ (Referral Office) ที่มีอยู่ 40 แห่งทั่วโลกได้ และ Remote Interpreter เป็นระบบที่เข้ามาช่วยเจ้าหน้าที่ล่ามในการแปลภาษาให้กับผู้ป่วยผ่านอุปกรณ์การสื่อสารโดยที่ไม่จำเป็นต้องไปอยู่กับแพทย์หรือผู้ป่วย
ดร. ธีรเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า “การที่ได้นำนวัตกรรมมาปรับใช้ในองค์กรและในวันนี้ถือว่าเกิดประสิทธิผลต่อการรักษาผู้ป่วยอย่างมาก ก็คือ ระบบคอมพิวเตอร์ 'ไอบีเอ็มวัตสัน' ที่ช่วยในการประมวลผลเพื่อให้แพทย์ตัดสินใจวางแผนการรักษาผู้ป่วยมะเร็ง (IBM Watson for Oncology) โดยบำรุงราษฎร์ได้พัฒนาความก้าวหน้าของศาสตร์และเทคโนโลยีสำหรับรักษาโรคมะเร็งแบบเฉพาะบุคคล (Precision Medicine) ช่วยทำให้แพทย์สามารถตัดสินใจกำหนดแผนและวิธีการรักษาที่เหมาะสมยิ่งขึ้นโดยพิจารณาเป็นรายบุคคล โดยในปัจจุบันสามารถรักษาครอบคลุมมะเร็งได้ถึง 13 ชนิด และอีกเทคโนโลยีคือ ซีบรา เอไอ (Zebra AI) เป็น AI ที่ใช้ร่วมกับ CT Scan เพิ่มความแม่นยำในการอ่านข้อมูลทางด้านรังสีรักษา และสามารถตรวจได้ถึง 4 โรคได้ในครั้งเดียวกัน ประกอบด้วยโรคถุงลมโป่งพอง เลือดออกในสมอง ไขมันพอกตับ และภาวะกระดูกแตก ซึ่งเทคโนโลยีนี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพในการวินิจฉัยโรคให้กับผู้ป่วยเป็นอย่างมาก”
ทิศทางในอนาคตของ Healthcare Industry ย่อมมีการแข่งขันที่สูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ไม่เพียงแต่สถานพยาบาลด้วยกันเอง แต่จะมีสตาร์ทอัพรายใหม่ ๆ ที่พร้อมจะเข้ามาคิดค้นพัฒนาแพลตฟอร์มด้านสุขภาพใหม่ ๆ เช่น การสร้างแอพตรวจโรคเบาหวาน แอพตรวจโรคมะเร็ง แอพหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด หรือแอพผู้ช่วยเสมือนพยาบาล เป็นต้น โดยอาจเชื่อมโยงข้อมูล Big Data และนำ AI มาทำนายโรคที่จะเกิดขึ้นกับตัวเราในอนาคต โดยดูจากหลายปัจจัย อาทิ ความสัมพันธ์ของยีน ค่าความเสี่ยงต่าง ๆ จากพันธุกรรม รวมถึงปัจจัยสิ่งแวดล้อมอื่น ๆ มาวิเคราะห์ร่วมกันจากหลายตัวแปร ซึ่งต่อไปในอนาคตอันใกล้นี้ แน่นอนว่าการดูแลสุขภาพจะเน้นการดูแลเชิงป้องกัน (Prevention) ไม่ให้เกิดโรคมากยิ่งขึ้น โดยมีการนำ AI มาใช้วิเคราะห์ผลร่วมกับแพทย์เพื่อให้เข้าใจถึงรหัสพันธุกรรมของผู้ป่วยแต่ละราย (DNA Wellness) และนำไปสู่การตรวจรักษาโรคได้อย่างแม่นยำและจำเพาะต่อตัวบุคคล (Precision and Personalization) ซึ่งจะช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีและเหมาะสมที่สุดแก่ตัวผู้ป่วย
อย่างไรก็ตาม การนำเทคโนโลยีต่าง ๆ เข้ามาใช้เพื่อสร้างผลลัพธ์ที่ดีในการรักษา ไม่อาจบรรลุเป้าหมายทั้งหมดขององค์กรได้ บำรุงราษฎร์ตระหนักดีว่าการสื่อสารรายละเอียดเกี่ยวกับการรักษา การมีปฏิสัมพันธ์ การให้กำลังใจผู้ป่วยและการบริบาลอย่างเอื้ออาทร ยังคงเป็นบทบาทสำคัญของแพทย์ พยาบาล และบุคลากรของโรงพยาบาลฯ ทุกคน ในการสร้างประสบการณ์เชิงบวกให้แก่ผู้ป่วยและผู้มาเยือนที่บำรุงราษฎร์ เพื่อขับเคลื่อนให้องค์กรพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไป
No comments