ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ปิดจ๊อบ”U2T ผลงานตามเป้า ปีหน้าดัน”มาร์เก็ต เพลส”
ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ เดินหน้าแถลงผลงานพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 18 ตำบล ในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา ผ่านการขับเคลื่อนโครงการ “มหาวิทยาลัยสู่
ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ” “U2T”สร้างองค์ความรู้ให้กับชุมชน ปีหน้าดัน Market place ในมหาวิทยาลัย
เมื่อวันที่ 20 ธ.ค. ที่ศาลากลางจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุพจน์ทรายแก้ว อธิการบดีมหาวิทยาลัย ราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ในพระบรมราชูปถัมภ์ พร้อม คณาจารย์มหาวิทยาลัยและนักศึกษาจ้างงาน ได้แถลงผลงานพัฒนาท้องถิ่นจ.พระนครศรีอยุธยา ตลอด1ปี ผ่านการขับเคลื่อน โครงการ”มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้กับประเทศ”ให้แก่ นางสรัลพัชร ประโมทะกะ รองผู้ว่าราชการจังหวัด พระนครศรีอยุธยา เป็นประธานในพิธี พร้อมคณะผู้บริหารส่วนราชการ
จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รับทราบ
มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ใน พระบรมราชูปถัมภ์ เป็นสถาบันที่มุ่งมั่น และมีนโยบายในการ ทำงานด้านการพัฒนาท้องถิ่นอย่างจริงจัง โดยในปีที่ผ่านมานี้ ได้มีการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจ และสังคมรายตำบลแบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ (U2T) ให้ตรงตามเป้าหมายของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) โดยเริ่มลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมพัฒนาท้องถิ่น ที่มหาวิทยาลัยรับผิดชอบทั้งหมดทุกพื้นที่กว่า 48 ตำบล ครอบคลุมพื้นที่ จังหวัดปทุมธานี 16ตำบล จังหวัดพระนครศรีอยุธยา 18 ตำบล และจังหวัดสระแก้ว 14 ตำบล การจัดงานในวันนี้ มีการนำเสนอผลการดำเนินงานโครงการยกระดับเศรษฐกิจและสังคมรายตำบล
แบบบูรณาการ 1 ตำบล 1 มหาวิทยาลัย (มหาวิทยาลัยสู่ตำบล สร้างรากแก้วให้ประเทศ : U2T) จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จำนวน 18 ตำบล ซึ่งภายในห้องประชุมได้จัดจุดแสดงผลงานการนำเสนอที่มีอาจารย์ผู้ซึ่ง เป็นหัวหน้าผู้รับผิดชอบโครงการตำบลนั้น ๆ รวมกับผู้ถูกจ้างงานซึ่งอยู่ในโครงการการจ้างงานในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ของกระทรวงการอุดม ศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม คอยให้ข้อมูล และนำเสนอผลงานที่น่าสนใจที่ทางมหาวิทยาลัยได้เข้าไปพัฒนาในตลอด 1 ปีที่ผ่านมา เกิดผลงานเป็นที่ประจักษ์ และชุมชนได้รับการพัฒนาไปในทางที่ดีขึ้น ซึ่งการจัดแสดงผลงานของมหาวิทยาลัยในครั้งนี้ เป็นสัญญาณที่ดีที่ ทางจังหวัดอยุธยา และหน่วยงานส่วนราชการทุกแขนง ได้รับรู้ผลการดำเนินงาน และจะได้บูรณาการภาคีเครือข่ายร่วมมือกันในการพัฒนาชุมชนต่อไปในอนาคต เพื่อให้ประชาชนในชุมชน ได้รับผลประโยชน์ และสามารถพึ่งพาตนเองได้อย่างยั่งยืนตลอดไป
” ปีนี้ โครงการU2T มี 3 จังหวัด ทั้ง ปทุมธานี 16 ตำบล จ.สระแก้ว 14 ตำบล และ ปิดท้าย ที่จ.อยุธยา มี 18 ตำบล โดยพื้นที่ส่วนใหญ่ของอยุธยา อยู่ในอำเภอบางไทร เป็นพื้นที่ชนบท
และเป็นทุ่งนา ซึ่งการดำเนินการของมหาวิทยาลัยเกิดให้ความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง ประชาชนในพื้นที่ได้นำองค์ความรู้ไปเพื่อพัฒนาชุมชนของตัวเอง เช่นในเรื่องการเกษตร ปรับปรุงดินปรับปรุงปุ๋ย หาวิธีที่จะช่วยเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร ตามด้วยแปรรูปผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ รวมถึงการออกแบบบรรจุผลิตภัณฑ์ให้น่าสนใจ รวมถึงเรื่องการทำตลาดออนไลน์ ที่ปัจจุบันมีความสำคัญอย่างมาก วัตถุประสงค์ที่สร้างโครงการนี้ เพื่อให้ชาวบ้านสามารถ เรียนรู้และนำไปพัฒนาชุมชนของตัวเอง ซึ่งเป็นราโชบายของในหลวง ร.10 ที่อยากให้มหาวิทยาลัยราชภัฎ พัฒนาท้องถิ่นที่ตั้งของมหาวิทยาลัย”
“ส่วนในชวงกลางปีหน้ามหาวิทยาลัย จะสร้าง Market place ในมหาวิทยาลัย ใช้พื้นที่ 20-30 ไร่ โดยทางมหาวิทยาลัยมีร้านค้าและนำสินค้าในชุมชนมาวางจำหน่ายแล้วก็มีการ
จัดไลฟ์สดขายของ โดยใช้เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัยถ่ายทอดองค์ความรู้ให้กับชุมชน เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ รวมถึงเปิดโอกาสให้ประชาชนในชุมชนได้เข้ามาใช้ ตอนนี้มหาวิทยาลัยได้จัดเตรียมสตูดิโอ และอาคารไว้รองรับ เพื่อจะทำให้เป็น VRU Modern Place”
นอกจากโครงการ”U2T”ที่จะยังดำเนินต่อไป มหาวิทยาลัยยังมีจัดตั้งศูนย์เรียนรู้ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้เกิดขึ้นในตำบลต่าง ๆ เพื่อใช้ในการเรียนการสอน โดย ปีหน้าจับมือกับกรมพัฒนาชุมชน จะจัดโครงการเศรษฐกิจพอเพียงโคกหนองนา ในพื้นที่ 20ไร่ เป็นตัวอย่างให้ชุมชน รวมถึงโครงการยกระดับคุณภาพของโรงเรียนเครือข่าย ประมาณ30โรงเรียน เพื่อให้ครูไปปรับใช้ในการเรียนการสอนให้ทั่วถึงคนในชุมชนอีกด้วย
No comments