Breaking News

“แผนฟื้นฟู ขสมก.” เชื่อมาถูกทาง “ผอ.สุระชัย” ลั่นเดิมพันด้วยเก้าอี้

แผนฟื้นฟูกิจการ ขสมก.ฉบับปรับปรุงล่าสุดตีโจทย์แตก เดินหน้าลดต้นทุนจัดหารถใหม่ให้ขสมก.และเอาประโยชน์ของประชาชนเป็นหลัก ต้องลดค่าโดยสารเหลือวันละ 30 บาท ขึ้นกี่เที่ยวกี่สายก็ได้ไม่จำกัด ยกเลิกโครงการจัดซื้อรถโดยสารตัดขาดขบวนการเพิ่มหนี้ลดต้นทุนทุกประเภท เผยต่อไปนี้ ขสมก.ไม่ต้องลงทุนเองหันมาใช้โมเดลเดียวกับต่างประเทศจัดจ้างเอกชนลงทุนจัดหารถเมล์ใช้พลังงานไฟฟ้าหรือ NGV.เท่านั้นไม่ก่อมลภาวะโดยเฉพาะละอองฝุ่น pm.2.5  “สุระชัย” ผู้อำนวยการ ขสมก.ประกาศลั่นถ้าผลักดันแผนฟื้นฟูฉบับนี้ไม่สำเร็จพร้อมลาออก เปิดโอกาสให้คนอื่นมาแสดงฝีมือ 
บ่ายวานนี้ (6 มิ.ย.) ผู้สื่อข่าวรายงานว่านายสุระชัย เอี่ยมวชิรสกุล ผู้อำนวยการ ขสมก. เผยถึงแผนฟื้นฟูกิจการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพฯว่า เพื่อให้เห็นภาพได้ชัดเจนตนขอเปรียบเทียบแผนฟื้นฟูฉบับเดิมกับแผนฟื้นฟูฉบับปัจจุบัน กล่าวคือแผนฟื้นฟูเดิมนั้นยังไม่ตอบโจทย์เรื่องของการลดภาระค่าโดยสารจากประชานและ ยังคงสร้างภาระหนี้เพิ่มด้วยการจัดซื้อรถใหม่เพิ่มขึ้นอีก 2,500  คัน โดยต้องใช้วงเงินกู้กว่าสองหมื่นล้านบาทและใช้วิธีการผลักภาระให้ประชาชน  โดยเพิ่มค่าโดยสารจากเดิม 9-15 บาทขึ้นเป็น 15,20,25 บาทเมื่อเปรียบจากแผนเดิมเฉลี่ยคนเดินทางไปกลับ 2.04 เที่ยว /วัน ต้องจ่ายค่าโดยสารอย่างน้อย 48 บาท/วัน แต่แผนใหม่จ่ายทั้งวัน 30 บาทจะขึ้นกี่สายกี่เที่ยวก็ได้ไม่จำกัด โดยมีแผนรองรับเรื่องบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ บัตรนักเรียนหรือบัตรรายเดือน เพื่อเป็นการรองรับผู้โดยสารที่มีรายได้น้อย
ที่สำคัญแผนฟื้นฟูฉบับปรับปรุงนี้จะทำให้ต้นทุนการให้บริการของขสมก ลดลงจาก 54 บาทต่อกิโลเมตร ลดลงเมื่อจ้างเอกชนเดินรถจะเหลือไม่ถึง 34 บาทต่อกิโลเมตร  ซึ่งสอดคล้องกันกับช้อมูลของนายสุเมธ องกิตติกุล ผอ.วิจัยด้านนโยบายการขนส่งและโลจิสติกส์ ทีดีอาร์ไอ.กล่าวว่า “สิ่งที่เกิดในอดีตของ ขสมก.ที่มีปัญหามากพอสมควรคือ โครงสร้างต้นทุนค่อนข้างสูงได้แก่บุคลากรและเชื้อเพลิง ปัจจุบัน ขสมก.มีพนักงานเกือบ 14,000 คน รถ 1 คันต้องใช้พนักงานขับรถถึง 3 คนล่าสุดมีพนักงานเก็บค่าโดยสาร 5,781 คน ตรงนี้คือต้นทุนโครงสร้างด้ายบุคลากรส่วนโครงสร้างด้านเชื้อเพลิง ถ้าเปลี่ยนมาใช้พลังงานไฟฟ้าหรือ NGV ก็จะช่วยลดต้นทุนได้อีกทาง
นอกจากต้นทุนต่อกิโลเมตรลดลงแล้ว ข้อดีของการจ้างเอกชนวิ่งเดินรถซึ่งต้องเป็นรถใหม่ทุกคันและต้องใช้พลังงานไฟฟ้าหรือ NGV เท่านั้นเพื่อลดปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก pm2.5  และเพื่อลดปัญหาการจราจร แผนฟื้นฟูฉบับใหม่มีความจำเป็นต้องกำหนดเส้นทางเดินรถใหม่ครอบคลุมทั่วทั้งกรุงเทพฯ ซึ่งแต่ละเส้นทางต้องไม่ทับซ้อนกันเหมือนทุกวันนี้  ที่มีจำนวนรถโดยสารอยู่บนท้องถนนมากเกินไป ยกตัวอย่างเช่น เส้นทางบนถนนพหลโยธินเพียงสายเดียวมีเส้นทางเดินรถทับกันถึง 30 เส้นทาง เฉลี่ยเส้นทางละ 30 คัน เท่ากับมีรถเมล์ 900 คันจอดเรียงรายบนถนนพหลโยธิน รถเมล์ 1 คันยาว 12 เมตรเท่ากับเราเสียพื้นที่ถนนไป 10  กิโลเมตร แต่ถ้าใช้แผนฟื้นฟูฉบับแก้ไขปรับปรุงเราจะลดจำนวนรถเมล์ได้อย่างน้องครึ่งหนึ่งเท่ากับพื้นที่ถนน 4.5 กิโลเมตร อีกทั้งยังการแก้ไขปัญหาการวิ่งแข่งกันรับโดยสารของรถร่วมเอกชน และรถทุกคันจะต้องใช้ระบบเก็บค่าโดยสารระบบ อี-ทิคเก็ต ระบบจีพีเอส และติดตั้งกล้อง CCTV ทั้งภายนอกและภายในรถ โดยส่วนตัวตนมีความเชื่อมั่นว่า แผนฟื้นฟูฉบับนี้ตอบโจทย์ได้ทุกข้อเชื่อมาเรามาถูกทางแล้ว  “ถ้าแผนฟื้นฟูไม่สำเร็จ ผมพร้อมพิจารณาตัวเองเปิดทางให้คนอื่นมาบริหาร ขสมก.” นายสุระชัยกล่าวทิ้งท้าย
ด้านนายวีระศักดิ์ ยอดอาจ ที่ปรึกษากฎหมายชมรมสื่อออนไลน์เพื่อสิทธิผู้บริโภค กล่าวว่า หลังจากได้เห็นแผนฟื้นฟูฉบับใหม่ต้องยอมรับว่าแนวคิดของผู้บริหาร ขสมก.ภายใต้กระทรวงคมนาคมในรัฐบาลนี้ มีวิสัยทัศน์ที่น่าชื่นชมคือ ลดความเสี่ยง หยุดสร้างหนี้สินหยุดสร้างภาระที่สำคัญประชาชนได้ประโยชน์ ในแผนฟื้นฟู ขสมก.ฉบับนี้มีครบทุกข้อ หยุดเสี่ยงคือหยุดการลงทุนด้วยตัวเองนั่นคือ ขสมก.ไม่ต้องลงทุนซื้อรถเป็นของตัวเอง เพราะรถยนต์คือความเสี่ยงคือภาระทั้งการดูแลรักษา ดูรูปแบบธุรกิจที่ประสบความสำเร็จที่ไม่มีทรัพย์สินของตัวเองในวันนี้เช่น  Facebook  , Grab , Airbnb , Netflix หรือรถโดยสารในประเทศสิงคโปร์ก็ใช้โมเดลธุรกิจนี้ทั้งนั้น ไม่ขาดทุน ไม่มีความเสี่ยง ไม่สร้างหนี้ ไม่ต้องแบกต้นทุน เช่นกัน ขสมก.ลดความเสี่ยงแรกโดยการจ้างเอกชนมารับความเสี่ยงแทน ต้องปรบมือให้คณะทำงานที่ร่างแผนฟื้นฟูฉบับนี้

No comments