Breaking News

5 สถาบันเปิดตัวโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์ “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก”

 

กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) ธัชชา วิทยสถาน สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และศิลปกรรมศาสตร์ ร่วมกับ มหาวิทยาลัยศิลปากร และองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย (ThaiPBS) ได้ร่วมกัน จัดโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์ ภายใต้แนวคิด “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก”

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ได้กล่าวถึงวัตถุประสงค์ของ การจัดการประกวดในครั้งนี้ เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนให้ เยาวชน คนรุ่นใหม่ นักเรียน และนิสิต นักศึกษา ที่สนใจในการประกวดและผลิตภาพยนตร์สั้น ได้มีความเข้าใจและมีความภาคภูมิใจในภูมิปัญญาของท้องถิ่นของเรา ด้วยการมีส่วนร่วมและถ่ายทอดผลงานในรูปแบบของภาพยนตร์สั้น ซึ่งกิจกรรมนี้ ยังเป็นเวทีในการเผยแพร่ และจัดแสดงผลงานของเยาวชนทุกคนที่มีส่วนร่วมในกิจกรรมการประกวดในโครงการฯ นี้ นอกเหนือจากเงินรางวัล โล่รางวัลและของรางวัลแล้ว ทุกทีมที่ส่งผลงานเข้าร่วมประกวดในโครงการฯ จะได้รับประกาศนีบัตรทุกทีมอีกด้วย

อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์
ประธานโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์ แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก

อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ เปิดเผยว่า อยากให้น้อง ๆ นักเรียน นักศึกษา เยาวชนคนรุ่นใหม่มองว่า ประวัติศาสตร์ไม่ใช่เรื่องล้าสมัย ประวัติศาสตร์เป็นรากของวัฒนธรรมของคนในชาตินั้น ๆ ซึ่งคนไทยเองก็มีความแตกต่างจากชาติอื่น มีเอกลักษณ์เฉพาะตัว มีความเป็นอยู่ มีอาหารการกิน มีลายผ้าของเครื่องนุ่งห่ม มีรูปลักษณ์ทางศิลปะ มีงานสถาปัตยกรรมไทยที่แต่ละเรื่อง แต่ละประเภท มีความเฉพาะเจาะจงอยู่ในทุกปัจจัย 4 ที่เราคุ้นเคยและอยู่รอบตัวเรา วันนี้เป็นผลจากอดีต และวันนี้เป็นเหตุของอนาคต เพราะฉะนั้น ถ้าเราเข้าใจประวัติศาสตร์ ก็เหมือนเรารู้จักตัวตนของเราดีขึ้น จะช่วยให้เราเตรียมการสำหรับอนาคตได้ดีขึ้น การเรียนรู้จากแก่นไทย ไม่ได้อยากให้เอาประวัติศาสตร์แบบท่องจำมาสื่อสาร แต่อยากให้เริ่มจากมุมมองของคนรุ่นใหม่ แล้วนำไปสู่การค้นคว้า หาแก่นของสิ่งที่เราเห็น เรามี เราเสพ เราใช้ โครงการนี้ถึงใช้คำว่า แก่นไทย และอยากชวนคิดต่อซึ่งคงไม่เฉลยว่ามุมไหนที่จะเป็น เชื่อมไทย เชื่อมโลก เพื่อเปิดโอกาสน้อง ๆ ให้คิดต่อยอดได้ในอนาคตต่อไป

ประกวดหนังสั้นประวัติศาสตร์ “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช
อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร

สำหรับการจัดกิจกรรมเปิดตัวโครงการ ฯ ในครั้งนี้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ชัยชาญ ถาวรเวช อธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร ให้เกียรติมาเป็นประธานกล่าวต้อนรับและเปิดงาน และนอกจากนี้ยังมีการเสวนาในหัวข้อเรื่อง “แก่นไทย หัวใจภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์” นำการเสวนาโดย อาจารย์ปัญจพล เหล่าพูนพัฒน์ ประธานโครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์ “แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก” ร่วมกับ รองศาสตราจารย์ 

รองศาสตราจารย์ ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์
อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร

ดร.กรรณิการ์ สุธีรัตนาภิรมย์ อาจารย์ประจำภาควิชาโบราณคดี คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร คุณเรวดี อัตตพงค์พันธ์ โปรดิวเซอร์รายการชำนาญการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย คุณคมกฤษ ตรีวิมล ผู้กำกับภาพยนตร์ กลุ่ม 365 ฟิล์ม ค่ายจีดีเอช โดยการเสวนาในกิจกรรมนี้ ยังมีแขกรับเชิญพิเศษ ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ ที่ร่วมเสวนาพูดคุยผ่านสื่อออนไลน์อีกด้วย

คุณเรวดี อัตตพงค์พันธ์
โปรดิวเซอร์รายการชำนาญการองค์การกระจายเสียงและแพร่ภาพสาธารณะแห่งประเทศไทย

คุณคมกฤษ ตรีวิมล
ผู้กำกับภาพยนตร์ กลุ่ม 365 ฟิล์ม ค่ายจีดีเอช

โดยการประกวดแบ่งเป็น 2 ระดับ ได้แก่ ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (หรือเทียบเท่า) และ ระดับอุดมศึกษา (หรือเทียบเท่า) ชิงโล่รางวัลและเงินรางวัลจาก 5 สถาบัน พร้อมประกาศนียบัตรให้กับทุกทีมที่ส่งผลงานเข้าประกวด และมอบทุนการศึกษาเป็นเงินรางวัลมูลค่ารวมมากกว่า 850,000 บาท ในโครงการประกวดฯ 4 ภูมิภาค และชิงแชมป์ประเทศไทย โดยเริ่มเปิดโครงการเฟสแรกเป็นโครงการ นำร่อง แก่นไทย เชื่อมไทย เชื่อมโลก ครั้งที่ 1 ในเขตภาคกลาง 22 จังหวัด

Line Official Account:
@historyshortfilm

Facebook Fan page:
แก่นไทย โครงการประกวด
ภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์







ขอเชิญชวนน้อง ๆ นักเรียน นิสิต นักศึกษา ในเขตภาคกลางทุกท่าน ส่งใบสมัครได้ตั้งแต่วันนี้ เป็นต้นไป โดยเริ่มเปิดรับสมัคร ตั้งแต่วันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2565 กำหนดส่งใบสมัครทางออนไลน์ได้ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2565 และหมดเขตส่งผลงานวันที่ 20 เมษายน 2565 สามารถดาวน์โหลดใบสมัคร ได้ทาง เฟซบุ๊กแฟนเพจ “แก่นไทย โครงการประกวดภาพยนตร์สั้นประวัติศาสตร์” และติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมทางไลน์ที่ @historyshortfilm หรือทางอีเมล์: thaihistoryshortfilm@gmail.com


No comments