ต่อจากนี้ไป คนไทยผู้มีอาชีพอิสระ สามารถมีระดับคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้ ด้วย ประกันสังคม มาตรา 40 ใหม่
แม้ว่าทุกวันนี้จะมีหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า หรือ "บัตรทอง 30 บาทรักษาทุกโรค" แต่ต้องไม่ลืมว่า หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า นี้ ครอบคลุมเฉพาะค่ารักษาพยาบาลเท่านั้น ในกรณีที่พักฟื้นจากการเจ็บป่วย ไม่สามารถทำงานได้ แต่ยังต้องกินอาหาร ฯลฯ เพื่อการดำรงชีพ หากมีเงินเก็บไม่มาก เงินหมด แล้วจะเอาเงินที่ไหนมาใช้จ่าย "ประกันสังคมมาตรา 40" คือคำตอบ ที่ออกมาปิดช่องโหว่ตรงนี้ เพื่อให้ประชาชนผู้มีอาชีพอิสระ ไม่มีรายได้ประจำ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น มีีเงินทดแทน เพื่อนำมาเป็นค่าใช้จ่ายค่าอาหาร ฯลฯ ในยามที่ยังไม่สามารถทำงานได้
เราลองไปฟังความเห็นจากผู้นำองค์กรอาชีพอิสระองค์กรหนึ่ง ซึ่งจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน นั่นคือ 'อาชีพคนขับรถแท็กซี่' จากการสัมภาษณ์ นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ณ ที่ทำการสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ อาคารนาริตะชั้น 4 เมืองทองธานี
นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ กล่าวถึง ประกันสังคมมาตรา 40 ว่า “เป็นการประกันสุข สร้างความมั่นคงให้ชีวิต 'จ่ายน้อย คุ้มค่า และไม่ประมาท' สมาคมฯ ก่อตั้งมา 6 ปี มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 1200-1300 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับคนขับแท็กซี่ที่เป็นสมาชิกฯ จึงได้ดำเนินการสนับสนุน เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ ทุกคนได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม มาตรา 40 ใหม่ นี้ เพื่อเป็นสวัสดิการคุ้มครองให้กับชีวิต โดยต้องทำความเข้าใจกับสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกฯ จะได้รับ และให้สมาชิกฯ ทุกคนเข้าถึงประกันสังคม มาตรา 40 ให้ได้ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตในอนาคตที่ดีขึ้น"
รัฐบาลได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็น ประกันสังคม มาตรา 40 แบบใหม่ ที่เพิ่มความคุ้มครองที่มากกว่า และเข้าถึงแรงงานนอกระบบ ทั้งเงินทดแทนรายได้ยามพักฟื้นหลังจากเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ เงินสงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ เงินชราภาพ ไปจนถึงเงินทำศพ
ประกันสังคม มาตรา 40 กับ 5 ความคุ้มครอง 3 ทางเลือก
3 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ
5 ความคุ้มครอง
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (รับเงินทดแทนการขาดรายได้)
- เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี
- กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท (ภายใน 1 ปี นับรวมกันมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 30 วัน)
- กรณีมีใบรับรองแพทย์ ให้หยุดพักรักษาตัว 1-2 วัน ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 50 บาท แต่ไม่เกินคนละ 3 ครั้งต่อปี
เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน ภายใน 1 ปี นับรวมกันมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 90 วัน
เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
2. กรณีทุพพลภาพ
- รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี หากเสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500-1,000 บาท ส่งเงินสมทบให้ตลอดชีวิต หากเสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
เงื่อนไข
- จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
(ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแพทย์)
3. กรณีเสียชีวิต
- ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ
- ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่ม 3,000 บาท ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 40,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ
เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต
ยกเว้น กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต หรือ 6 เดือน ใน 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต
4. กรณีชราภาพ
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน
- ได้รับบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 50 บาท พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี (ออมเพิ่ม ได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน)
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
- ได้รับบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 150 บาท พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี (ออมเพิ่ม ได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน)
- จ่ายเงินสมทบ 180 บาทต่อเดือน ได้รับเพิ่มอีก 10,000 บาท
เงื่อนไข เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาท บุตรแรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ (คราวละไม่เกิน 2คน)
เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 ใน 36 เดือน และขณะรับเงินสงเคราะห์บุตรต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน
คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 40
1. ผู้สมัครมีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันสมัคร
3. ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 394. ผู้สมัครประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
4. ผู้สมัครไม่เป็นสมาชิกกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ
5. ไม่ได้เป็นชนกลุ่มน้อย ที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย
6. ผู้สมัครเป็นบุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคมที่ตนจะได้รับ
ช่องทางการสมัครประกันสังคม มาตรา 40
1. สมัครโดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมเขตใกล้บ้าน
2. สมัครผ่านเว็บไซต์ https://www.sso.go.th
3. สมัครผ่านร้านสะดวกซื้อ 7-11 เพียงยื่นบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น
วิธีการนำส่งเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 40
1. หักผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ได้ทุกธนาคาร ทุกวันที่ 20 ของทุก ๆ เดือน
2. นำส่งเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาใกล้บ้าน
3. ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกแห่ง
4. สามารถจ่ายผ่านตู้เติมเงินบุญเติม
“ผู้ประกันตน ตามมาตร 40 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
“ไม่ถูกตัดสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ”
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม มาตรา 40 ได้ที่ สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 หรือ เว็บไซต์ https://www.sso.go.th
เราลองไปฟังความเห็นจากผู้นำองค์กรอาชีพอิสระองค์กรหนึ่ง ซึ่งจะสามารถพบเห็นได้ทั่วไปตามท้องถนน นั่นคือ 'อาชีพคนขับรถแท็กซี่' จากการสัมภาษณ์ นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ ณ ที่ทำการสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ อาคารนาริตะชั้น 4 เมืองทองธานี
นายวรพล แกมขุนทด นายกสมาคมวิชาชีพผู้ขับขี่รถยนต์สาธารณะแท็กซี่ กล่าวถึง ประกันสังคมมาตรา 40 ว่า “เป็นการประกันสุข สร้างความมั่นคงให้ชีวิต 'จ่ายน้อย คุ้มค่า และไม่ประมาท' สมาคมฯ ก่อตั้งมา 6 ปี มีสมาชิกทั้งหมดประมาณ 1200-1300 คน มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริม และช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ให้กับคนขับแท็กซี่ที่เป็นสมาชิกฯ จึงได้ดำเนินการสนับสนุน เพื่อให้สมาชิกสมาคมฯ ทุกคนได้รับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคม มาตรา 40 ใหม่ นี้ เพื่อเป็นสวัสดิการคุ้มครองให้กับชีวิต โดยต้องทำความเข้าใจกับสิทธิประโยชน์ที่สมาชิกฯ จะได้รับ และให้สมาชิกฯ ทุกคนเข้าถึงประกันสังคม มาตรา 40 ให้ได้ เพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาระดับคุณภาพชีวิตในอนาคตที่ดีขึ้น"
รัฐบาลได้ปรับปรุงสิทธิประโยชน์ให้แก่ผู้ประกันตนตามมาตรา 40 เป็น ประกันสังคม มาตรา 40 แบบใหม่ ที่เพิ่มความคุ้มครองที่มากกว่า และเข้าถึงแรงงานนอกระบบ ทั้งเงินทดแทนรายได้ยามพักฟื้นหลังจากเจ็บป่วย เกิดอุบัติเหตุ เงินสงเคราะห์บุตร ทุพพลภาพ เงินชราภาพ ไปจนถึงเงินทำศพ
ประกันสังคม มาตรา 40 กับ 5 ความคุ้มครอง 3 ทางเลือก
3 ทางเลือกในการจ่ายเงินสมทบ
- ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 1 จ่าย 70 บาท/เดือน
- ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน
- ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
5 ความคุ้มครอง
1. กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย (รับเงินทดแทนการขาดรายได้)
- เมื่อนอนโรงพยาบาลเป็นผู้ป่วยในตั้งแต่ 1 วันขึ้นไป จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 300 บาทต่อวัน ไม่เกิน 30 วันต่อปี
- กรณีไม่ได้นอนพักรักษาตัวแต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 200 บาท (ภายใน 1 ปี นับรวมกันมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 30 วัน)
- กรณีมีใบรับรองแพทย์ ให้หยุดพักรักษาตัว 1-2 วัน ให้ได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้วันละ 50 บาท แต่ไม่เกินคนละ 3 ครั้งต่อปี
เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน ภายใน 1 ปี นับรวมกันมีสิทธิได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ ไม่เกิน 90 วัน
เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือน (การรักษาพยาบาลใช้สิทธิหลักประกันสุขภาพ (บัตรทอง) จากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ)
2. กรณีทุพพลภาพ
- รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500-1,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลานานถึง 15 ปี หากเสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีทุพพลภาพได้รับค่าทำศพ 20,000 บาท เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน รับเงินทดแทนการขาดรายได้จำนวน 500-1,000 บาท ส่งเงินสมทบให้ตลอดชีวิต หากเสียชีวิตระหว่างรับเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ ได้รับค่าทำศพ 40,000 บาท
เงื่อนไข
- จ่ายเงินสมทบ 6 ใน 10 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 500 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 12 ใน 20 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 650 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 24 ใน 40 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 800 บาทต่อเดือน
- จ่ายเงินสมทบ 36 ใน 60 เดือน ก่อนทุพพลภาพ ได้รับ 1,000 บาทต่อเดือน
(ต้องเป็นผู้ทุพพลภาพหรือทุพพลภาพเพิ่มขึ้นตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการแพทย์)
3. กรณีเสียชีวิต
- ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 20,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ
- ได้รับเงินสงเคราะห์เพิ่ม 3,000 บาท ถ้าจ่ายเงินสมทบมาแล้ว 60 เดือน ก่อนเสียชีวิต เพิ่มสิทธิพิเศษ ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน ได้รับเงินค่าทำศพจำนวน 40,000 บาทให้กับผู้จัดการศพ
เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบครบ 6 เดือน ภายในระยะเวลา 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต
ยกเว้น กรณีเสียชีวิตด้วยอุบัติเหตุ จ่ายเงินสมทบครบ 1 เดือน ใน 6 เดือน ก่อนเสียชีวิต หรือ 6 เดือน ใน 12 เดือน ก่อนเสียชีวิต
4. กรณีชราภาพ
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 2 จ่าย 100 บาท/เดือน
- ได้รับบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 50 บาท พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี (ออมเพิ่ม ได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน)
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน
- ได้รับบำเหน็จชราภาพ เดือนละ 150 บาท พร้อมผลประโยชน์ตอบแทนรายปี (ออมเพิ่ม ได้ไม่เกิน 1,000 บาทต่อเดือน)
- จ่ายเงินสมทบ 180 บาทต่อเดือน ได้รับเพิ่มอีก 10,000 บาท
เงื่อนไข เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ สิ้นสุดความเป็นผู้ประกันตน
5. กรณีสงเคราะห์บุตร
ชุดสิทธิประโยชน์ที่ 3 จ่าย 300 บาท/เดือน ได้รับเงินสงเคราะห์บุตรคนละ 200 บาท บุตรแรกเกิดแต่ไม่เกิน 6 ปีบริบูรณ์ (คราวละไม่เกิน 2คน)
เงื่อนไข จ่ายเงินสมทบมาแล้ว 24 ใน 36 เดือน และขณะรับเงินสงเคราะห์บุตรต้องส่งเงินสมทบทุกเดือน
คุณสมบัติผู้สมัครประกันสังคม มาตรา 40
1. ผู้สมัครมีสัญชาติไทย
2. มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปีบริบูรณ์ และไม่เกิน 60 ปีบริบูรณ์ ณ วันสมัคร
3. ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 หรือ มาตรา 394. ผู้สมัครประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบ
4. ผู้สมัครไม่เป็นสมาชิกกองทุน บำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือเป็นสมาชิกกองทุนของรัฐวิสาหกิจ หรือหน่วยงานอื่น ๆ ของรัฐ
5. ไม่ได้เป็นชนกลุ่มน้อย ที่อพยพเข้ามาอาศัยในประเทศไทย
6. ผู้สมัครเป็นบุคคลพิการที่สามารถรับรู้สิทธิประกันสังคมที่ตนจะได้รับ
ช่องทางการสมัครประกันสังคม มาตรา 40
1. สมัครโดยตรงที่สำนักงานประกันสังคมเขตใกล้บ้าน
2. สมัครผ่านเว็บไซต์ https://www.sso.go.th
3. สมัครผ่านร้านสะดวกซื้อ 7-11 เพียงยื่นบัตรประจำตัวประชาชนเท่านั้น
วิธีการนำส่งเงินสมทบ ประกันสังคม มาตรา 40
1. หักผ่านบัญชีเงินฝากประเภทออมทรัพย์ได้ทุกธนาคาร ทุกวันที่ 20 ของทุก ๆ เดือน
2. นำส่งเงินสมทบได้ที่สำนักงานประกันสังคมกรุงเทพมหานครพื้นที่/จังหวัด/สาขาใกล้บ้าน
3. ชำระได้ที่เคาน์เตอร์เซอร์วิสทุกแห่ง
4. สามารถจ่ายผ่านตู้เติมเงินบุญเติม
“ผู้ประกันตน ตามมาตร 40 สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้”
“ไม่ถูกตัดสิทธิรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ”
ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ประกันสังคม มาตรา 40 ได้ที่ สำนักงานประกันสังคม โทร. 1506 หรือ เว็บไซต์ https://www.sso.go.th
No comments