ดาว ประเทศไทยประกาศผลรางวัล DOW-CST สนองนโยบายการศึกษาภาครัฐ พัฒนาครู-เยาวชนไทยเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ สู่การคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม
กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย ร่วมกับ สมาคมเคมีแห่งประเทศไทย ในพระอุปถัมภ์ของศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอเจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี และองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ จัดการประกาศผลรางวัล “การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ด้วยเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (DOW-CST AWARD) ประจำปี พ.ศ. 2561 ภายใต้โครงการห้องเรียนเคมีดาว” พร้อมมอบรางวัลรวมมูลค่ากว่า 200,000 บาท แก่ครูและนักเรียนผู้ชนะการประกวดในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นและมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยผู้ที่ชนะเลิศรางวัลยอดเยี่ยมจะได้เข้ารับพระราชทานโล่เกียรติยศจากศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการนานาชาติ Pure and Applied Chemistry International Conference (PACCON 2019) ซึ่งจะจัดขึ้นที่ไบเทคบางนา ในเดือนกุมภาพันธ์นี้
โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และพันธมิตร ร่วมกันดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐว่าด้วยการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยการเพิ่มประสบการณ์และศักยภาพของครูและนักเรียนผ่านเทคนิคปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) อันเป็นวิธีการเรียนรู้การทดลองเคมีที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทย เพื่อให้การเรียนการสอนที่ทั้งครูและนักเรียนสามารถเป็นนักคิดและพัฒนาเสริมสร้างนวัตกรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องกับยุคประเทศไทย 4.0
ศาสตราจารย์ ดร.สุภา หารหนองบัว นายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า“สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ได้ร่วมจัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST Award และดำเนินโครงการห้องเรียนเคมีดาวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยเล็งเห็นว่าพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีเริ่มมาจากห้องเรียน การเข้าถึงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ง่ายขึ้นด้วยเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory)จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพทางการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และจะมอบโอกาสทางการศึกษาวิชาเคมีให้กับเด็ก ๆ ที่โรงเรียนไม่มีห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือขาดแคลนทุนทรัพย์ในการซื้อสารเคมีและอุปกรณ์ทดลองราคาสูงมาไว้ที่โรงเรียน”
ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติกล่าวว่า “องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติมุ่งมั่นที่จะกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ DOW-CST Award และโครงการห้องเรียนเคมีดาว ถือเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นส่วนหนึ่งของสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า DOW-CST Award และโครงการห้องเรียนเคมีดาวจะนำไปสู่คุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศที่ดีขึ้น ทำให้เยาวชนของชาติเติบโตและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพแขนงต่างๆ ได้ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST AWARD หนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” ในปีนี้มีครูและนักเรียนจากทั่วประเทศกว่า 153 คนร่วมส่งโครงงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 46 โครงงาน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) ได้อย่างสร้างสรรค์ โดยการตัดสินรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 ณ จามจุรี สแควร์ ชั้น G โดยมีรายนามผู้ชนะดังต่อไปนี้:
DOW-CST AWARD 2018 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
นายฉัตรชัย เลื่อนผลเจริญชัย ประธานบริหาร กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย กล่าวว่า“ดาว จัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST AWARD มาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายในการการพัฒนามาตรฐานการศึกษาไทย โดยเฉพาะบุคลากรในสถาบันการศึกษาอันได้แก่ ครูและนักเรียน และปีนี้ เราก็รู้สึกยินดีอย่างยิ่งที่ครูและนักเรียนจากโรงเรียนต่าง ๆ ทั่วประเทศร่วมส่งโครงงานที่มีความคิดสร้างสรรค์และน่าสนใจเข้ามามากมาย โดย ดาว ประเทศไทย หวังว่าการประกวด DOW-CST AWARD จะเป็นการกระตุ้นให้ครูถ่ายทอดความรู้ทางวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะความรู้ทางเคมีให้นักเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพและน่าสนใจมากยิ่งขึ้น รวมถึงสร้างแรงบันดาลใจให้นักเรียนมีความคิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรมได้อย่างมีประสิทธิภาพ”
โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” หรือ Dow Chemistry Classroom ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) และยังมีกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการการทดลองเคมีแบบย่อส่วนให้แก่ครูวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้บูรณาการการเรียนการสอนตามหลักสูตร รวมทั้งการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบดีเด่นให้เป็น Trainer เพื่อเผยแพร่เทคนิคอันเป็นประโยชน์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง พร้อมการติดตามผลและประเมินกระบวนการสอนเพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิคการเรียนการสอนร่วมกัน ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมมีคณาจารย์กว่า 1,260 คน จาก 617 โรงเรียนทั่วประเทศ และมีนักเรียนกว่า 60,000 ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ด้วยการร่วมเข้ารับการถ่ายทอดเทคนิคการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” เป็นโครงการที่กลุ่มบริษัท ดาว ประเทศไทย และพันธมิตร ร่วมกันดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 เพื่อตอบสนองนโยบายภาครัฐว่าด้วยการส่งเสริมให้บุคลากรทางการศึกษาเป็นบุคคลแห่งการเรียนรู้ คิดริเริ่มและสร้างสรรค์นวัตกรรม ด้วยการเพิ่มประสบการณ์และศักยภาพของครูและนักเรียนผ่านเทคนิคปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) อันเป็นวิธีการเรียนรู้การทดลองเคมีที่มีประสิทธิภาพและความปลอดภัยสูงที่ได้รับการยอมรับจากยูเนสโก เพื่อยกระดับมาตรฐานการศึกษาไทย เพื่อให้การเรียนการสอนที่ทั้งครูและนักเรียนสามารถเป็นนักคิดและพัฒนาเสริมสร้างนวัตกรรมโดยเฉพาะทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี สอดคล้องกับยุคประเทศไทย 4.0
ศาสตราจารย์ ดร.สุภา หารหนองบัว นายกสมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ กล่าวว่า“สมาคมเคมีแห่งประเทศไทยฯ ได้ร่วมจัดการประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST Award และดำเนินโครงการห้องเรียนเคมีดาวมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องด้วยเล็งเห็นว่าพื้นฐานการเรียนรู้ที่ดีเริ่มมาจากห้องเรียน การเข้าถึงองค์ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่ง่ายขึ้นด้วยเทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory)จะสามารถลดความเหลื่อมล้ำด้านคุณภาพทางการศึกษาวิชาวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนต่างๆ ทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด และจะมอบโอกาสทางการศึกษาวิชาเคมีให้กับเด็ก ๆ ที่โรงเรียนไม่มีห้องทดลองทางวิทยาศาสตร์หรือขาดแคลนทุนทรัพย์ในการซื้อสารเคมีและอุปกรณ์ทดลองราคาสูงมาไว้ที่โรงเรียน”
ดร.อภิญาณ์ หทัยธรรม รองผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติกล่าวว่า “องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติมุ่งมั่นที่จะกระตุ้นและส่งเสริมสังคมไทยให้สนใจและเห็นความสำคัญของวิทยาศาสตร์ที่มีต่อการพัฒนาประเทศ DOW-CST Award และโครงการห้องเรียนเคมีดาว ถือเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนมีทัศนคติที่ดีต่อวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อันเป็นส่วนหนึ่งของสะเต็มศึกษา ซึ่งเป็นแนวทางการจัดการศึกษาให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และสามารถบูรณาการความรู้ทางวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี กระบวนการทางวิศวกรรม และคณิตศาสตร์ ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมหรือโครงงานที่มุ่งแก้ปัญหาที่พบเห็นในชีวิตจริง เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่า DOW-CST Award และโครงการห้องเรียนเคมีดาวจะนำไปสู่คุณภาพการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของประเทศที่ดีขึ้น ทำให้เยาวชนของชาติเติบโตและนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการประกอบอาชีพแขนงต่างๆ ได้ เป็นกลไกในการขับเคลื่อนประเทศไทย 4.0 สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน”
การประกวดโครงงานวิทยาศาสตร์ DOW-CST AWARD หนึ่งในกิจกรรมภายใต้โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” ในปีนี้มีครูและนักเรียนจากทั่วประเทศกว่า 153 คนร่วมส่งโครงงานเข้าประกวดทั้งสิ้น 46 โครงงาน โดยประยุกต์ใช้เทคนิคปฏิบัติการทดลองเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) ได้อย่างสร้างสรรค์ โดยการตัดสินรอบชิงชนะเลิศจัดขึ้นในวันที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2562 ณ จามจุรี สแควร์ ชั้น G โดยมีรายนามผู้ชนะดังต่อไปนี้:
DOW-CST AWARD 2018 ระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
- รางวัลยอดเยี่ยม ซึ่งได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการ PACCON 2019 ได้แก่ คุณครูกัญจน์ญาณิศา นาคสวัสดิ์ จาก โรงเรียนระยองวิทยาคม ด้วยโครงงาน การตกตะกอนโลหะหนักด้วยเปลือกกล้วย
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ คุณครูเรวดี วิจารี จากโรงเรียนเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระศรีนครินทร์ ระยอง (โครงงาน อุณหภูมิของสารกับการเกิดปฏิกิริยา) ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000 บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ คุณครูทัศนีย์ กวาดชัยภูมิ จากโรงเรียนบางปะกอกวิทยาคม (โครงงาน การจำลองหมอกในขวดแก้ว) ได้รับเงินรางวัลมูลค่า10,000 บาท
- รางวัลยอดเยี่ยม ซึ่งได้รับเงินรางวัลมูลค่า 40,000 บาท พร้อมโล่รางวัลเกียรติยศจาก ศาสตราจารย์ ดร.สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณวลัยลักษณ์ อัครราชกุมารี ในการประชุมวิชาการ PACCON 2019 ได้แก่ คุณครูสราวุธ แท่นจินดารัตน์ จากโรงเรียนมาบตาพุดพันพิทยาคาร ด้วยโครงงาน การบำบัดน้ำเสียโดยกระบวนการรวมตะกอนด้วยไฟฟ้า (Electrocoagulation)
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 ได้แก่ คุณครูโพธิศักดิ์ โพธิเสน จากโรงเรียนสตรีศรีน่าน (โครงงาน ชุดการทดลอง Mida’s Power) ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 20,000บาท
- รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 ได้แก่ คุณครูชยวิน โฉมงาม จากโรงเรียนปราจิณราษฎรอำรุง (โครงงาน การทดลองเคมีย่อส่วน เรื่องสารละลายบัฟเฟอร์) คุณครูชัยพร มิตรพิทักษ์ โรงเรียนหอวัง (โครงงาน การหาค่าคงที่ของแก๊ส (R) และคุณครูสุรางคณา ศรีสวัสดิ์ โรงเรียนสตรีศรีน่าน (โครงงาน พอดี๊ พอดี ที่หลอดนี้)ได้รับเงินรางวัลมูลค่า 10,000 บาท
โครงการ “ห้องเรียนเคมีดาว” หรือ Dow Chemistry Classroom ได้ดำเนินการอย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 6 นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 เพื่อสนับสนุนการเรียนการสอนวิชาเคมีด้วยใช้เทคนิคปฏิบัติการเคมีแบบย่อส่วน (Small-Scale Chemistry Laboratory) และยังมีกิจกรรมส่งเสริมการศึกษาอื่นๆ ประกอบด้วย การอบรมเชิงปฏิบัติการการทดลองเคมีแบบย่อส่วนให้แก่ครูวิทยาศาสตร์ เพื่อนำไปใช้บูรณาการการเรียนการสอนตามหลักสูตร รวมทั้งการพัฒนาครูวิทยาศาสตร์ต้นแบบดีเด่นให้เป็น Trainer เพื่อเผยแพร่เทคนิคอันเป็นประโยชน์ให้เป็นที่รู้จักในวงกว้าง พร้อมการติดตามผลและประเมินกระบวนการสอนเพื่อแลกเปลี่ยนเทคนิคการเรียนการสอนร่วมกัน ตลอดระยะเวลาการดำเนินกิจกรรมมีคณาจารย์กว่า 1,260 คน จาก 617 โรงเรียนทั่วประเทศ และมีนักเรียนกว่า 60,000 ที่ได้รับประโยชน์จากโครงการฯ ด้วยการร่วมเข้ารับการถ่ายทอดเทคนิคการเรียนการสอนรูปแบบใหม่
No comments