Breaking News

วช. พร้อมเป็นส่วนหนึ่งของการขับเคลื่อน Creative Economy ด้วยงานวิจัยเด่นปี 2565

 

สถานการณ์โควิด-19 ในช่วง 2 ปี ที่ผ่านมา ทำให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจ อันเนื่องมาจากการขาดรายได้จากนักท่องเที่ยว รายได้กว่า 20 เปอร์เซ็นต์ ของจีดีพีหายไป และโอกาสการฟื้นตัวอาจไม่ง่ายอย่างที่หลายฝ่ายคาดการณ์ Creative Economy หรือ เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ เป็นโฉมหน้าใหม่ของเศรษฐกิจที่อยู่บนแนวคิดที่ว่า ประเทศไทยมีต้นทุนทางวัฒนธรรมติดอันดับ 5-7 ของประเทศที่มีความร่ำรวยทางวัฒนธรรมมากที่สุดในโลก


สำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ได้จัดเวทีเสวนาในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 ที่ผ่านมา ณ ห้องเวิลด์บอลรูม ชั้น 23 โรงแรมเซ็นทาราแกรนด์ และบางกอกคอนเวนชันเซ็นเตอร์ เซ็นทรัลเวิลด์ กรุงเทพฯ ในหัวข้อ “การสนับสนุนงานวิจัยด้าน Creative Economy ” โดยมีผู้ร่วมเสวนาประกอบด้วย ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผอ. วช. ,ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และ ผศ.ดร.สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย อาจารย์ประจำคณะ สถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดย ศ.ดร.พีระพงศ์ ฑีฆสกุล จากมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง 
ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ

ดร.วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ กล่าวว่า วช. ได้ให้การสนับสนุนงานวิจัยด้าน Creative Economy ตามนโยบายของรัฐบาล และ รมว.อว. ศ.พิเศษ ดร.เอนก เหล่าธรรมทัศน์ เพื่อให้เกิดการเชื่อมต่อในการออกแบบและวางแผน และเป็นหนึ่งในกรอบงานวิจัยที่นำมาจัดแสดงในงานมหกรรมงานวิจัยแห่งชาติ 2565 โดยสถาบันการศึกษาได้เลือกนำผลิตภัณฑ์เชิงวัฒนธรรม ชีวิตความเป็นอยู่ ที่มีความโดดเด่นทั้งในรายพื้นที่ โดยเฉพาะในเรื่องอาหาร มีงานวิจัยออกมาเป็นจำนวนมาก 

ศ.ดร.พีระพงศ์ ฑีฆสกุล 
มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 

“keyword คือ ความคิดในการสรรค์สร้างทุนทางวัฒนธรรมให้มีมูลค่าสูงขึ้น ซึ่ง วช. ได้ทำงานร่วมกับสถาบันการศึกษา โดยให้ความสำคัญวางเป้าหมายที่จะประสบความสำเร็จตามยุทธศาสตร์ ววน. ปี 2563-2565ทำให้เห็นผลสำเร็จ และยุทธศาสตร์ ววน. ปี 2566-2570 จะยกระดับงานทางสังคมไปสู่ความยั่งยืน สร้างขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ ทั้งนี้ จะเห็นว่าการใช้ประโยชน์จากผู้นำทางความคิดที่เป็นปราชญ์ ภูมิปัญญา ความรู้ ศิลปกรรม เป็นโจทย์ที่ท้าทายจึงนำไปสู่การส่งเสริมงานวิจัยที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์อย่างเป็นรูปธรรม ตามที่ รมว. อว. มอบนโยบาย ผลงานวิจัยด้าน Creative Economy ที่ วช. ให้ทุนสนับสนุน จะเป็นเรื่องของการสร้างองค์ความรู้ใหม่ ซึ่งมีงานวิจัยเด่น ๆ อาทิ เทคนิคการออกแบบลาวพร่าเลือน ในงานไหมมัดหมี่ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ ซึ่งเป็นงานที่ทำให้ผ้ามัดหมี่ มี อัตลักษณ์ เกิดลวดลายที่เป็นที่ต้องการของตลาด การอนุรักษ์งานศิลปกรรมที่นครศรีธรรมราช และที่ วช. ภาคภูมิใจ คือ งานวิจัยที่ทำร่วมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร และทำให้องค์การยูเนสโก ประกาศให้เพชรบุรีเป็นเมืองสร้างสรรค์ด้านอาหารของโลกซึ่งผลงานวิจัยนี้ถือเป็นต้นแบบของการประเมินโดยหน่วยงานระดับนานาชาติ เป็นการบ่งชี้ว่า ววน. เป็นส่วนสำคัญ ทำให้จังหวัดเพชรบุรีใช้ยุทธศาสตร์ดังกล่าวมาทำงานร่วมกับ วช. เป็นความภาคภูมิใจที่เราได้ใช้งาน ววน. มาทำให้เกิด Creative Economy 

ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ 
อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล

ศ.นพ.บรรจง มไหสวริยะ อธิการบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า ในอนาคต Creative Economy จะมีความสำคัญมาก และจะเป็นทางรอดของประเทศไทย เพราะจากนี้สุภาษิตตกปลาเป็นไม่พอแล้ว ทุกประเทศตกปลาเป็นหมด แต่สิ่งที่จะทำให้อยู่รอดคือ การสร้างมูลค่า ในมหาวิทยาลัยต้องสอนให้เพิ่มมูลค่า ถ้าศึกษาชีวิตของคนดังอย่าง สตีฟ จ๊อบ, บิล เกทส์ ,มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์ก ล้วนไม่ได้เรียนตามปกติ แต่ชอบทำสิ่งที่ท้าทาย และมีโอกาสและจังหวะชีวิตที่ดี จังหวะชีวิตเป็นสิ่งสำคัญมาก แต่ละช่วงชีวิตจะมีคนที่เป็น Key person สร้างอะไรที่เป็นประโยชน์ การที่จะสร้างมูลค่าสิ่งใดได้เราจะต้องสร้างความเป็น Creative และจะต้องยืนให้ได้ด้วยตัวเอง สำหรับผลงานวิจัยด้าน Creative Economy ของมหาวิทยาลัยมหิดล อาทิ สุดสาครออเครสตร้า มหัศจรรย์หุ่นไม้จันทร์หอม แฮรี่พอตเตอร์ ออเครสตร้า โครงการอุทยานฯ เป็นต้น 

ผศ. ดร. สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย 
คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ผศ. ดร. สุรพงษ์ เลิศสิทธิชัย จากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า งานวิจัยด้านเศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์ในช่วง 2562-2563 เพิ่มขึ้นมาก ในปีนี้มีประมาณ 100 ผลงาน แต่มูลค่าไม่สูงนัก อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจเชิงสร้างสรรค์สามารถใช้เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจโดยอาศัยวัฒนธรรม ความคิดสร้างสรรค์ที่มีเป็นทุนเดิม ซึ่งในปี 2565 ได้รับทุนวิจัยมุ่งเป้าทำวิจัย โดย รมว. อว. ให้แนวทางว่างานวิจัยเชิงเศรษฐกิจสร้างสรรค์ จะต้องเกิดจากวัฒนธรรมที่เป็นความคิดของคนในท้องถิ่น เป็นความเชี่ยวชาญ สามารถบูรณาการได้ มีผู้วิจัยหลากหลายสาขา มีการขยายผลต่อยอดในวงกว้างได้อย่างรวดเร็ว มีการสร้างคุณค่าเพื่อเพิ่มมูลค่า แบ่งเป็น 4 กลุ่ม บวก1 ได้แก่ กลุ่มศิลปะและดนตรี กลุ่มสินค้า กลุ่มบริการสร้างสรรค์ กลุ่มสื่อสร้างสรรค์ และสาขาที่เกี่ยวข้อง 


งานวิจัยเด่น อาทิ สามย่าน รถไฟสายประวัติศาสตร์ ลำพูน เชียงใหม่ การใช้พื้นที่สถานีรถไฟหัวลำโพง The Gastronomy อาหารไทยบนแพลตฟอร์ม กิจกรรมมวยไทยสำหรับชนทุกวัย ผลิตภัณฑ์สปา เป็นต้น

No comments