Breaking News

เยาวชนไทยคว้ารางวัลสำคัญ การแข่งขัน “F1 In Schools World Finals 2022” เวทีนานาชาติ “F1 In Schools Challenge” รอบ World Final ประเทศอังกฤษ

 เด็กไทยลงสนามแข่งนานาชาติ โดยตัวแทนเยาวชนไทย ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ (Singapore International School of Bangkok : SISB) และโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี (Shrewsbury International School)กรุงเทพฯ ได้รับคัดเลือกเป็นตัวแทน 1 ใน 2 ของประเทศไทย เข้าร่วมการแข่งขัน Formula 1 (F1) in Schools Challenge รอบ World Final ครั้งที่ 17  ร่วมกับทีมเยาวชนนานาชาติ 40 ทีมจาก 26 ประเทศ ในวันที่ 12 กรกฎาคม 2565  ณ เมืองซิลเวอร์สโตน นอร์แธมป์ตันเชอร์ ประเทศอังกฤษ  

การแข่งขันครั้งนี้ทีมเยาวชนไทยภายใต้ชื่อทีม “กินรี เรสซิ่ง” สามารถสร้างชื่อเสียงให้กับประเทศไทยด้วยการคว้ารางวัลสำคัญคือ Sustainability Award รางวัลการใช้พลังอย่างยั่งยืน จากการเลือกใช้วัสดุรีไซเคิลจากธรรมชาติในกระบวนการผลิต โดยคำนึงถึงสิ่งแวดล้อม และสังคม เป็นสำคัญ โดยทีมกินนรีได้แนวคิดนี้มาจากการที่ประเทศไทยเริ่มประสบปัญหามลภาวะ และในการแข่งขันมีรางวัลที่เกี่ยวข้องกับมลภาวะดังนั้นเราจึงตัดสินใจลองค้นคว้า ทีมจึงคำนึงถึงวัสดุที่ใช้ว่าจะมีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ในอนาคตอย่างไร

ที่มาของเทคนิคที่ทำให้คว้ารางวัล : ทีมกินรีเลือกวิธีรีไซเคิลขวดเป็นวัสดุที่ใช้ในการขึ้นแบบ ในรูแบบ 3 มิติ และใช้ในการพิมพ์ชิ้นส่วนสำหรับรถ และทีมผุดสุดยอดไอเดียคือ การนำคาร์บอนจากท่อไอเสียรถยนต์มาผสมกับ bio-resin เพื่อผลิตชิ้นส่วน ชิ้นส่วนพวกนี้ช่วยลดน้ำหนักของรถและทำลายสิ่งแวดล้อมน้อยที่สุดซึ่งทำให้ได้เข้าสู่การพิจารณารางวัล

ผลการแข่งขันทีม Kinnaree Racing อยู่ในอันดับที่ 3 ในหมวดเวลารวมของการแข่งรถ,และลำดับที่ 9 ในการเข้ารอบคัดเลือก เพื่อเข้ารอบน็อคเอาท์ 16 ทีมสุดท้าย ส่วนทีมที่ได้รางวัลชนะเลิศคะแนนรวมคือ ทีมไฮดรอน (Hydron) จากประเทศออสเตรเลีย อันดับที่2ถึงอันดับที่5 เป็นทีมจากประเทศเวลล์ เยอรมนี อังกฤษ และ กรีซ ตามลำดับ

การแข่งขัน F1 in Schools Challenge รอบ World Finals จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี โดยหน่วยงาน “F1 in Schools Challenge” ซึ่งเป็นการแข่งขันระดับเยาวชนอายุระหว่าง9-19ปีเน้นการเเข่งขันการออกแบบและประดิษฐ์รถแข่งที่วิ่งเร็วที่สุดซึ่งต้องอาศัยการบูรณาการความรู้ ระหว่าง4 สาขาวิชา ได้แก่ วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (Science, Technology, Engineering, and Mathematics : STEM)

การแข่งขัน F1 in Schools เริ่มแข่งขันครั้งแรกในปี ค.ศ. 1999 

โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อเป็นเวทีให้เยาวชนนักประดิษฐ์ทั่วโลกที่สนใจงานด้านวิศวกรรมได้แสดงความสามารถและทักษะฝีมือในการประดิษฐ์ ออกแบบและผลิต รถแข่งขนาดเล็กหรือ F1 ที่ผู้เข้าแข่งขันต้องออกแบบและผลิต โดยใช้เครื่องมือการออกแบบ CAD/CAM และขับเคลื่อนโดยใช้CO2ที่บังคับโดยระบบคอมพิวเตอร์ รถแข่งจะต้องปฏิบัติตามกฏข้อบังคับ ซึ่งรถจะวิ่งบนแทร็กยาว 20 เมตร ผ่านอุโมงค์ลม ที่ผู้เข้าแข่งต้องใช้ทักษะการคำนวณพลศาสตร์ของไหล (CFD) เพื่อจำลองแรงต้านของอากาศ การแข่งขันจะจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี จากสถิติการแข่งขันที่ผ่านมา เมื่อปี ค.ศ. 2021 ทีมผู้ชนะจากประเทศออสเตรเลีย สามารถประดิษฐ์รถแข่งทำเวลาได้เร็วที่สุด 0.916 วินาที โดยทีมผู้ชนะเลิศจะได้รับทุนการศึกษาในระดับอุดมศึกษา ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ

สำหรับตัวแทนนักเรียนจากประเทศไทย1ใน2ทีมที่จะเข้าร่วมการแข่งขันในครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนนานาชาติสิงคโปร์ และโรงเรียนนานาชาติโชรส์เบอรี กรุงเทพฯ ภายใต้ชื่อทีม “กินนรี เรสซิ่ง “ (Kinnaree Racing) มีสมาชิกรวม 5 คน ได้แก่ ทีมกินนรี เรสซิ่ง จากซ้ายไปขวา:

จิรัชย์ พัวพงษ์พัน ,  โทนี่ แสงสุพรรณ,  วรินทร์ เพชรชำลิ, ปัทเมณี จินะดิษฐ์, รวิพัชร์ รอดโพธิ์ทอง 

Graphical user interface, application, Teams

Description automatically generated

สมาชิกในทีมกินนรี เรสซิง กล่าวถึงความรู้สึกในการได้มีส่วนร่วมในการแข่งขันว่า “ทีมงานทุกคนรู้สึกตื่นเต้นเป็นอย่างมากที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการแข่งขันที่ยิ่งใหญ่ครั้งนี้ โปรเจคนี้เป็นโปรเจคที่ท้าทายมาก พวกเราสัญญาว่าจะทำให้ดีที่สุด เพื่อพิสูจน์ว่าเด็กไทยก็ไม่ได้เป็นสองรองใคร”

นาย จิรัชย์ พัวพงษ์พัน ผู้ร่วมก่อตั้งและผู้จัดการทีมกินรี เรสซิงจากความสนใจด้านรถยนต์และงานด้านวิศวกรรม F1  ประกอบกับเคยมีประสบการณ์ไปช่วยทีมไทยที่ไปเเข่งขันระดับโลกมาแล้ว 2 ครั้ง และหัดใช้เครื่องจักรมาตั้งแต่อายุ 8 ขวบจึงไม่ได้เตรียมตัวหรือซักซ้อมมากเหมือนเพื่อน ๆ  สำหรับความท้าทายในการแข่งขันครั้งนี้มองว่า อยู่ที่การพยายามรักษาการผลิตรถยนต์ให้ได้ตามกำหนดเพราะอาจเกิดความผิดพลาดขึ้นได้มากมาย อย่างไรก็ดีทีมงานทำได้ดีในด้านการเงินและการตลาด และยังมีข้อได้เปรียบจากการมีทักษะใช้เครื่องจักรเพื่อการผลิต

      พร้อมบอกเล่าประสบการณ์การไปต่างแดนในครั้งนี้ว่า “ระหว่างการเดินทาง ความรับผิดชอบที่สำคัญที่สุดของเรา คือ ต้องตรงต่อเวลาและความปลอดภัย  เรากำลังเดินทางไปอังกฤษ ดังนั้นเมื่อออกไปข้างนอก เรามักจะออกไปเป็นกลุ่ม และไม่เคยอยู่คนเดียว สิ่งที่ทำให้ผมชอบบทบาทของผมมาก คือ สามารถช่วย เหลือเพื่อนๆทุกคนได้ในสิ่งที่พวกเขาต้องการและทำให้ผมได้สัมผัสกับการแข่ง ขันในทุกด้าน การแข่งขันครั้งนี้เป็นประสบการณ์ที่ผมจะไม่มีวันลืมและผมก็ภูมิใจกับ ผลงานที่เราทำสำเร็จเป็นเพราะเราเป็นหนึ่งในทีมที่อายุน้อยที่สุดและเป็นปีแรก ของเราที่ประสบ ความสำเร็จในการบรรลุผลงานที่ยอดเยี่ยม”

        จิรัชย์เล่าต่อถึงสาเหตุที่ทำให้เขาก้าวมาอยู่ตรงจุดนี้ว่า เป็นผลจากการที่เขามีความสนใจในเรื่องเกี่ยวกับรถยนต์โดยทั่วไป และนี่คือสิ่งที่ดึงดูดความสนใจเขาเป็นหลัก ทำให้เขาสามารถสร้างรถยนต์จริงตามแบบของตัวเองได้แม้อายุยังน้อย  ดังนั้นเมื่อมีโอกาสที่จะได้ทำเช่นนั้น จึงทำให้เขาอยากจะลงแข่งขัน

       “การแข่งขันครั้งนี้มีประโยชน์และจะมีผลต่ออนาคตของผมเป็นอย่างมาก เพราะทำให้ผมได้เรียนรู้ทักษะชีวิตที่มีประโยชน์มากมายในระหว่างการแข่งขัน เช่น การเตรียมพร้อมสำหรับสถานการณ์กรณีที่เลวร้ายที่สุดอยู่เสมอ  แต่ที่สำคัญกว่านั้น เราหวังว่าผลลัพธ์ของเราจะช่วยสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่น ผู้คนในวัยเดียวกับเราให้เข้ามาแข่งขันและสัมผัสประสบการณ์เหมือนกับสิ่งที่เราได้รับ”

นางสาว รวิพัชร์ รอดโพธิ์ทอง 1ใน 2 สาวเก่งของทีม กล่าวว่า ได้ตัดสินใจเข้าร่วมเพราะเป็นการแข่งขันที่น่าสนใจจริงๆ และส่วนตัวสนใจเรื่องรถยนต์ ด้านศิลปะ การออกแบบกราฟิกจึงเป็นกระบวนการที่สนุก ซึ่งได้มีการเตรียมตัวโดย เข้าเรียนหลักสูตร F1 ในโรงเรียนของประเทศไทย เพื่อเตรียมสื่อการเรียนรู้ใหม่ๆ ให้สามารถออกแบบและทำงานได้ดีขึ้น พร้อมคาดหวังว่า จะทำงานทันเวลาและสามารถคว้ารางวัลกลับมาได้  เนื่องจากทีมมีการประสานความร่วมมือกันได้ดีพอสมควร 

       “การไปเเข่งในปีนี้หน้าที่เเละความรับผิดชอบของหนูคือ ดูแลด้านโซเชียลมีเดีย คอยติดตามข่าวสารต่างๆเเละคอยอัปเดตให้ผู้สนับสนุนทุกคนๆรับรู้ถึงผลการเเข่งของทีมเเละสร้างกราฟฟิคที่ต้องใช้ในเวลาต่างๆที่จำเป็น

       การแข่งขันในครั้งนี้ยังถือเป็นประสบการณ์ที่ดีมาก ทำให้หนูได้เจอคนที่มีความสามารถเเละมี Passion ความรัก หลงใหลเกี่ยวกับอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งในครั้งนี้คือ “รถ” มันทำให้หนูรู้สึกเหมือนได้รับแรงบันดาลใจเเละอยากทำให้ดียิ่งขึ้นเเละโดยรวมทริปนี้ก็เป็นการเปิดมุมมองใหม่ๆมากมายให้หนู เพราะหนูได้พูดคุย ได้ทำความรู้จักกับคนใหม่ๆและได้ประสบการณ์เฉพาะตัวแบบนี้ มันทำให้หนูเป็นคนที่เปิดกว้างมากขึ้น เเล้วยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะช่วยให้หนูได้ค้นพบ ความสามารถแเละขีดจำกัดต่างๆของตัวเองด้วย”

ด้านนางสาว ปัทเมณี จินะดิษฐ์ กล่าวว่า เธอตัดสินใจร่วมทีมกินรีเรสซิ่ง ด้วยมองว่า จะได้รับประสบการณ์ที่นอกเหนือจากการศึกษา ขณะเดียวกันตนยังมีคุณลักษณะที่เหมาะกับโครงการนี้ ซึ่งต้องใช้คนมีเหตุผล มีความละเอียดรอบคอบและมีเป้าหมายที่ชัดเจนในการทำงาน  อย่างไรก็ดีสิ่งที่ท้าทายคือ จะต้องบริหารจัดการเวลา ตีโจทย์ให้แตก และโครงการนี้ต้องใช้ความทุ่มเทอย่างมาก เธอเริ่มต้นด้วยการเป็นกราฟิกดีไซเนอร์ในช่วงแรกๆของโครงการ ก่อนเปลี่ยนมาเป็นผู้จัดการฝ่ายการเงินและการตลาดที่เหมาะสมกว่า 

ทีมต้องขอขอบคุณผู้สนับสนุนที่เปิดโอกาสให้เยาวชนไทยได้เข้าร่วม การแข่งขันและทำให้ประเทศไทยได้เป็นที่รู้จักในเวทีระดับโลก โดยทีมได้รับเกียรติ จากผู้บริหารบริษัทต่างๆที่กรุณาให้เข้าพบเพื่อนำเสนอแผนงาน และเมื่อทางบริษัทตกลง สนับสนุนกิจกรรมนี้ทีมยังได้รับคำปรึกษาที่มีประโยชน์มากมายสำหรับกับการแข่งขัน การ เรียนในระดับมหาวิทยาลัย และการทำงานในอนาคต

       “หนูเป็นคนรับผิดชอบเรื่องการหา Sponsorship ให้ทีม  ดูแลการใช้จ่ายและฝ่ายการทำ Marketing ในระหว่างการเดินทางหนูกับพราวต้องทำงานไปด้วย เพราะหน้าที่ของเราจะเกี่ยวกับการโปรโมททีมและSponsor  ซึ่งการเข้ามาร่วมทีมในตอนแรกงานค่อนข้างหนัก ต้องใช้ความสามารถในการจัดการเวลา เพราะต้องอ่านหนังสือเรียน แต่ผลงานก็ออกมาดีกว่าที่คาดหวังมาก การแข่งขันในครั้งนี้นอกจากได้รางวัลแล้ว ยังได้ประสบการณ์ในการประสานงานและการร่วมมือเป็น Team work ด้วย”

นาย วรินทร์ เพชรชำลิ  เปิดเผยถึงเหตุที่เข้ามาร่วมทีมกินรี เรสซิง ด้วยเพราะต้องการเรียนรู้ประสบการณ์ใหม่ๆ เช่นประสบการณ์การแข่งรถและในด้านการผลิต โดยมองว่า ทีมงานสามารถออกแบบได้ดีและลดส่วนที่ไม่จำเป็นทั้งหมดออกไป และพยายามใช้วัสดุที่มีน้ำหนักน้อยที่สุด คาดว่า ทีมน่าจะติด 1 ใน 10 อันแรกของโลกได้

การไปเเข่งขันครั้งนี้เขามีหน้าที่เป็นวิศวกรการผลิต (Manufacture engineer) หรือคือผู้ประกอบรถ นอกจากนี้เขายังได้รับหน้าที่ให้เป็นคนกดปุ่มด้วย ซึ่งสร้างความประทับใจ ภาคภูมิใจให้กับเขาเป็นอย่างมาก ที่สามารถเอาชนะความกดดันของตัวเองเเละทำหน้าที่กดปุ่มได้ดี

    “การไปประเทศใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นไปเที่ยวหรือไปทำธุระ ผมมองว่าเป็นการเปิดรับประสบการณ์ใหม่ๆ ได้ไปเจอผู้คน บ้านเมือง วัฒนธรรมที่หลากหลาย และการเดินทางเข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ พัฒนาผมในหลายด้านโดยเฉพาะเรื่องภาษาที่จำเป็นต้องใช้เพื่อการสื่อสารเเละพัฒนาทักษะการเข้าสังคมของผม ทำให้ผมไม่รู้สึกอึดอัดเเละกล้าที่จะเข้าหาพบปะผู้คน”

             นายโทนี่ แสงสุพรรณ วิศวกรออกแบบ กล่าวว่า เขาตัดสินใจมาร่วมทีมเพราะสนใจงานด้านวิศวกรรมและคิดว่ามันเป็นความคิดที่ดีที่จะหาประสบการณ์ระหว่างทางและยังเป็นการดีสำหรับจัดเก็บประวัติการทำงานกิจกรรมของตัวเอง  โดยในทีมเขามีบทบาททำงานออกแบบรถผ่านซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ 3 มิติ มีเป้าหมายหลักเพื่อทำให้รถมีอากาศพลศาสตร์มากที่สุด ซึ่งเป็นโครงสร้างที่ค่อนข้างซับซ้อน  

“ผมมีหน้าที่เป็นวิศวกรออกแบบ ซึ่งทำงานส่วนใหญ่ออกแบบรถเพื่อมุ่งใช้ในการแข่งขัน และมองว่า รถของทีมสามารถบรรลุสมรรถนะที่ยอดเยี่ยมอย่างน่าประทับใจโดยมีปัญหาเพียงเล็กน้อยเท่านั้น  การใช้ fusion 360 ต้องใช้เวลาและประสบการณ์มาก ผมใช้เวลามากกับการใช้งานและชินกับมัน  เป้าหมายของผมคือการทำให้รถเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ มั่นใจในประสิทธิภาพของทีมที่สามารถทำทุกอย่างได้ในเวลาอันสั้น ทั้งนี้ในการแข่งขัน ผมสามารถพบปะผู้คนจากทั่วทุกมุมโลก และสามารถแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมและความคิดกับพวกเขาได้ ผมไปเที่ยวลอนดอนและเรียนรู้เกี่ยวกับผู้คนที่นั่น  ยังได้ประสบการณ์ที่หาไม่ได้จากที่ไหนอีกแล้ว”

F1 in Schools ถือเป็นโปรแกรมการแข่งขันที่ท้าทายความรู้ ความสามารถ อีกทั้งแนวคิดสร้างสรรค์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาซึ่งจำลองมาจากต้นแบบ การแข่งขันรถระดับโลกฟอร์มูล่าวัน โดยทีมผู้เข้าแข่งขันต้องผนวกความรู้ ทางวิชาการด้านSTEM ทั้ง 4 สาขาวิชา ซึ่งประกอบ ด้วย วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมและคณิตศาสตร์ในการออกแบบและประดิษฐ์รถแข่งขนาดเล็กที่ถูกขับเคลื่อนโดยเเก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อประลองความเร็วบนรางที่มีความยาว 20 เมตร ผสานกับการจัดการ การตลาด และการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

●   สนใจข้อมูลเพิ่มเติมเชิญที่ https://kinnareeracing.wixsite.com/home/ Instagram: kinnareeracing.th Facebook: Kinnaree Racing

A picture containing text, auto racing

Description automatically generated

ด้าน”โรเบิร์ต ซาย ออร์ทิส”–ผู้บริหารหน่วยงาน F1 in Schools ในประเทศไทย เปิดเผยว่า  F1   In schools มีมานานกว่า 22 ปี และมีต้นกำเนิดในสหราชอาณาจักร สำหรับ F1 in Schools เปิดตัวในประเทศไทยในปี 2017 (2560)โดยมีจุดประสงค์หลักในการแนะนำ S.T.E.M. Education ในรูปแบบที่สนุกสนานและมีส่วนร่วมสำหรับนักเรียน 

ทั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญโปรแกรม F1 in Schools ทำหน้าที่เป็นโค้ช/ครูและผู้ใหญ่ดูแลการแข่งขันในต่างประเทศ เป้าหมายหลักคือ มุ่งเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับการแข่งขันเพื่อให้มีความรู้และทักษะที่จำเป็นต่อการแข่งขันนักเรียนจะได้รับการสอนทุกอย่างที่จำเป็นต้องรู้เช่น การออกแบบโดยใช้ Fusion 360 การวิเคราะห์ด้วยพลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) การจัดการโครงการ และอื่นๆ 

A picture containing text

Description automatically generated

“นักเรียนที่เข้าร่วม F1 in schools จะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเรียนรู้อากาศพลศาสตร์ การผลิต CNC การพัฒนาการออกแบบโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAD) การผลิตโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วย (CAM) พลศาสตร์ของไหลเชิงคำนวณ (CFD) คณิตศาสตร์ฟิสิกส์ การพัฒนาเว็บ และการเขียนโปรแกรม ความท้าทายกระตุ้นให้นักเรียนใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับฟิสิกส์ อากาศพลศาสตร์ การออกแบบ การผลิต การสร้างแบรนด์ กราฟิก การสนับสนุน การตลาด ขณะเดียวกันยังได้ทักษะความเป็นผู้นำ/การทำงานเป็นทีม ทักษะด้านสื่อ และกลยุทธ์ทางการเงิน จากนั้นนำสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปปฏิบัติจริง ได้สัมผัสวิถีแห่งจินตนาการ การแข่งขัน และน่าตื่นเต้น นอกจากนี้ข้อมูลประจำตัวจะช่วยให้นักศึกษาสามารถนำไปใช้กับมหาวิทยาลัยทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย สิ่งนี้จะเตรียมนักเรียนให้พร้อมสำหรับเส้นทางอาชีพในอนาคต ช่วยให้มีผลงานนอกหลักสูตรของพวกเขา ช่วยนักเรียนในการตัดสินใจเลือกเส้นทางอาชีพ  โดย F1 ในโรงเรียนจะเตรียมนักเรียนให้พร้อมในทุกอาชีพในอนาคต  ช่วยพัฒนาความมั่นใจ พัฒนาทักษะการแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ กลยุทธ์ รวมถึงทักษะการวิเคราะห์ การคิดอย่างมีเหตุมีผล ความคิดสร้างสรรค์ พัฒนาความมั่นใจในการรับผิดชอบต่อบทบาทและภารกิจที่ได้รับมอบหมายให้เป็นส่วนหนึ่งของทีมแข่งขัน 

สำหรับกินรีเรสซิงเป็นหนึ่งในทีมที่จะเข้าแข่งขันใน World Finals ปี 2022 เพียงแค่เข้าแข่งขันก็ถือว่าชนะเเล้วเพราะเป็น 1ใน 2 ทีมที่เป็นตัวแทนของประเทศไทยในการแข่งขันระดับโลก  ขอแสดงความยินดีด้วย”  

No comments